วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Outlook: Volatile (ขึ้นขาย ลงซื้อ)

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Outlook: Volatile (ขึ้นขาย ลงซื้อ)

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,433/1,438 จุด แนวรับ 1,419/1,405 จุด (EMA 5/10 วัน) ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,696 จุด โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1,445/1,489 จุด (EMA 25/50 เดือน)

ส่วนในระยะสั้น ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้น ทำ Higher High, Higher Low เป็นวันที่สอง โดยจะมีสัญญาณซื้อใหม่ หากทะลุแนวต้าน 1,438 จุดขึ้นไปได้ โดยมีแนวต้านต่อไปที่ 1,445/1,460 จุด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เราแนะนำ ขึ้น-ทยอยขาย เนื่องจากอาจมีการปรับฐานหากเฟดไม่ส่งสัญญาณเร่งลดดอกเบี้ยอย่างที่ตลาดคาดการณ์

ประเด็น Event สำคัญวันนี้ 

CN Holiday: หยุดยาวเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ระหว่างวันที่ 14-17 ก.ย.

US: TIK-TOK ให้ข้อมูลต่อศาลสหรัฐฯ เพื่อขอระงับการถูกบังคับขายโดยผู้ถือหุ้น Bytedance

UK: Apple ไปขึ้นศาลที่อังกฤษ เพื่อชี้แจงต่อข้อกล่าวหา การตั้งราคาขายที่ไม่เป็นธรรมของ App Store

TH อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ: ผลประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ต่อข้อเสนอปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง 400 บาท สำหรับ 77 จังหวัด ทั่วประเทศ ที่คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณาเห็นชอบเสนอมา โดยมีโอกาสสูงที่จะอนุมัติหากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายลูกจ้าง เห็นชอบ แม้ฝ่ายนายจ้างไม่เห็นด้วยก็ตาม โดยรัฐบาลจะมีการออกมาตรการเยียวยาให้กับผู้ประกอบการ ที่มีแรงงานในบริษัทมากกว่า 200 คนขึ้นไป โดยลดการนำส่งสำหรับนายจ้าง 1% ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2024-ก.ย. 2025 เป็นเวลา 12 เดือน ส่วนที่เกินก่อนหักภาษี 1.5 เท่า มาเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการบรรเทาเรื่องการชำระภาษี ส่วนมาตรการอื่น ๆ คงจะต้องให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาและประกาศออกมาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ จะมีการโครงการธงฟ้าของกระทรวงพาณิชย์ มาช่วยแก้ปัญหาหากราคาสินค้าสูงขึ้นหลังปรับค่าจ้าง เราคาดว่าค่าแรงที่ปรับสูงขึ้นจะเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ และการเงิน แต่เป็นลบต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาฯ โรงงานอุตฯต่างๆ ที่มีแรงงานจำนวนมาก

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Outlook: Volatile (ขึ้นขาย ลงซื้อ)

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Outlook: Volatile (ขึ้นขาย ลงซื้อ)

 

 

 

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ 

EU: รายงานดุลการค้าเดือน ก.ค. โดย Consensus คาด +18 พันล้านยูโร (Vs เดือน มิ.ย. +22.3 พันล้านยูโร)

US: รายงาน NY Empire State Manufacturing Index เดือน ก.ย. คาด -3.9 (Vs เดือน ส.ค. -4.7) โดย Trading Economic คาดฟื้นตัวเป็น +8 ได้ในเดือน ก.ย. สะท้อนเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว

Weekly Strategy: กระแสเงินทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย เริ่มถูกกดดันให้ไหลออกมากขึ้น ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน

เราคาดว่ากระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flows) จะเริ่มชะลอลง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก

1. ปัจจัยภายนอกประเทศ: เราคาดทิศทางค่าเงิน USD จะพลิกกลับมาแข็งค่าระยะสั้นเทียบสกุลเอเชีย (กดดันเงินบาทอ่อนค่าและอาจถ่วงตลาดหุ้นเอเชียลดลง) อิงรายงาน Dot Plot ใหม่ของเฟด มีแนวโน้มคงหรือปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจปีนี้เล็กน้อย (สอดรับเศรษฐกิจ ภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง และมุมมอง Soft Landing) เช่นเดียวกันกับระดับเงินเฟ้อ (Core CPI ยังคงทรงตัว) จะส่งผลให้การปรับลดดอกเบี้ยของเฟด จะไม่ได้เยอะมากอย่างที่ตลาดคาดการณ์ (คาดเฟดส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยปีนี้เพียง 50 bps เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่ 25 bps เพื่อลดความเสี่ยงของการอ่อนแอของตลาดแรงงาน Vs CME FedWatch Tool ที่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยถึง 100 bps ในการประชุม 3 ครั้ง ที่เหลือปีนี้)

2. ปัจจัยภายในประเทศ: แรงขายต่างชาติผ่านตราสารอนุพันธ์ SET50 Index Futures เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. (MTD เปิด Short 96,458 สัญญา หลังจากเปิด Long เดือน ก.ค. +161,866 สัญญา และเดือน ส.ค. +84,158 สัญญา) สะท้อนการคาดหวังต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเริ่มมีจากัด อิง 

a. ผลตอบแทน FX Gain คาดว่าจะมีจากัด อิงการแข็งค่าของเงินบาท/USD ในปัจจุบัน (แตะระดับ 33.36 บาท เมื่อวันศุกร์ แข็งค่า -8.9% QTD เทียบกับระดับ 36.65 บาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2024 ขณะที่ US Dollar Index แข็งค่า 4.39% QTD เป็น 101.079 Vs 105.724 ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2024)
 

b. SET Valaution ที่ยังแพงเกินไปในภาพระยะสั้น สะท้อนจาก MRP ปรับลดลงมาที่ 4.36% อยู่ในกรอบ -1 ถึง -2 S.D. (Figure 2)  

c. การไร้เม็ดเงินสนับสนุนเพิ่มเติมในตลาดหุ้น หลังจากสิ้นสุดแรงซื้อของกองทุนวายุภักษ์ 1.5 แสนล้านบาท

กลยุทธ์การลงทุนสัปดาห์นี้: แนะนำ CENTEL BDMS TFG

Strategic daily picks

CENTEL    ปิด 37.25 บาท/แนวรับ 36.00 บาท แนวต้าน 39.25 บาท

KTX ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2024E ลง -5% เป็น 1.07 พันล้านบาท (+3% YoY) โดยเป็นผลจากการปรับ effective tax rate ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับที่เกิดขึ้นจริงใน 1H24 ขณะที่เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2025E ที่ 1.4 พันล้านบาท (+27% YoY) โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 35.75 บาท (Bloomberg Consensus ประเมินมูลค่าเหมาะสม 44.66 บาท)

BDMS     ปิด 29.25 บาท/แนวรับ 28.25 บาท แนวต้าน 32.00 บาท

BDMS คาดผลงานใน 2H24 ดีกว่า 1H24 เนื่องจากเข้าสู่ช่วง high season ขณะเดียวกันร่วมมือกับ MEDSI Group (เครือข่ายโรงพยาบาลและคลินิกเอกชนขนาดใหญ่สุดในรัสเซีย จานวน 148 แห่ง) เพื่อร่วมมือทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 4.06 พันล้านบาท (+4.35% YoY) และประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 34.84 บาท

TFG     ปิด 4.74 บาท/แนวรับ 4.60 บาท แนวต้าน 5.05 บาท

KTX คาด 3Q24E กำไรปกติ 1.1 พันล้าบบาท พลิกจากขาดทุนใน 3Q23 และทรงตัว QoQ จากแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นที่ฟื้นในทุกธุรกิจ (เว้นธุรกิจอาหารสัตว์) แต่ด้วยสมมติฐานเราคาดมีภาษีจ่ายในอัตรา 15% โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 4.97 บาท อิงอัตราผลตอบแทนคาดหวัง 9.2%

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Outlook: Volatile (ขึ้นขาย ลงซื้อ) วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Outlook: Volatile (ขึ้นขาย ลงซื้อ)