ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4%

ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4%

เฟทโก้ เปิดภาพรวมแบงก์ 6 ประเทศอาเซียน พบธนาคารในไทย 3 อันดับแรกที่มีสินทรัพย์มากที่สุด มีหนี้เสียมากสุดในอาเซียน ที่ 9.6พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.69%ของหนี้รวม ขณะที่หนี้ที่มีปัญหาของไทยอยู่ที่ 4% แต่สำรองหนี้สูงของแบงก์ไทยสูงต่อเนื่อง

ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4%        ล่าสุด สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดรายงาน Aspects in Stability of Banking Industry in ASEAN ถึงภาพรวมสถาบันการเงินใน 6 ประเทศอาเซียน โดยประกอบด้วย สิงคโปร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย

​       โดยในด้านการปล่อยสินเชื่อ เทียบกับสัดส่วนสินเชื่อที่มีปัญหา (Loan Problem)เมื่อเทียบกับการสำรองหนี้สูญ พบว่า ธนาคารในประเทศไทย มีสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหา ราว 4% ขณะเดียวกันมีการสำรองเงินเผื่อหนี้สูญ ในระดับสูงต่อเนื่อง 

 

ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4% ​          และหากดูภาพรวมหนี้เสีย สำหรับธนาคารที่มีสินทรัพย์ หรือ Total Asset สูงสุด 3 อันดับแรก พบว่า มูลค่ารวมของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ของธนาคาร 3 อันดับแรกของประเทศไทย คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่อยู่ภายใต้ SCBx ถัดมาคือ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทยมีค่ามากกว่า 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1.69% ของ หนี้ทั้งหมด

​       ขณะที่หนี้เอ็นพีแอล ของธนาคาร 3 อันดับแรกในฟิลิปปินส์ มีค่ามากกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.23% ของหนี้ทั้งหมด ถัดมาคือ อินโดนีเซีย โดย3 อันดับของธนาคารในอินโดมี มูลค่าหนี้เสียมากกว่า 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1.21%ของหนี้ทั้งหมด

​       ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4%   และหากดู งบดุล หรือ Balance Sheet ของ 6 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ในปี 2565 ที่ผ่านมา เทียบกับจีดีพีของแต่ละประเทศ พบว่า สิงคโปร์ มีบัญชีลูกหนี้และเงินฝากจากลูกค้า ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสูงที่สุดในอาเซียน ในปี2565 และเทียบกับจีดีพีของประเทศ

        ขณะที่ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย มีสัดส่วนลูกหนี้ เงินฝาก ในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อเทียบกับ จีดีพีของและประเทศ ประเทศไทย มีเงินฝากจากธนาคารสูงที่สุดใน 6 ประเทศ จำนวน 55,399 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 17% ของจีดีพี 

       ส่วนภาพรวม สินเชื่อและสัดส่วนหนี้ที่มีปัญหา พบว่า ธนาคารในเวียดนาม มีแนวโน้มการเติบโตของการปล่อยกู้มากขึ้น อย่างไรก็ตามพบเงินสำรองหนี้สูญในปี 2553  ติดลบสูงถึง 25.68% หลังจากนั้น จำนวนเงินสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับติดลบ 

        หากดูในด้านเงินฝาก หากเทียบกับจีดีพีของประเทศ พบว่า ประเทศสิงคโปร เป็นประเทศที่มีจำนวนเงินฝาก ต่อจีดีพีสูงที่สุด ประเทศไทย และเวียดนาม มาเลเซีย รองลงมาและอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

       ส่วนเงินฝากระยะสั้นต่ำกว่า 1ปี  ฟิลิปปินส์ มีเงินฝากระยะสั้นประมาณ 60%แต่เป็นประเทศที่มีจำนวน เงินฝากน้อยที่สุด 

        ส่วนโครงสร้างเงินฝากของประเทศไทย เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินฝากระยะสั้น เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2017 

        และหากดูเงินฝากและสินเชื่อพบว่า สัดส่วนการปล่อยกู้ของธนาคาร เทียบกับเงินฝาก เวียดนามเคยปล่อยกู้เกิน 100%ของเงินฝากในปี 2553 และปี 2554 

      โดยสรุป ในปี 2565 ประเทศสิงคโปร เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้าน Economic Risk ต่ำที่สุดและภาคธุรกิจธนาคารยังเป็นประเทศที่มีการปล่อยหนี้ และเงินฝาก จากลูกค้ามากที่สุด เมื่อเทียบกับจีดีพีประเทศ ขณะที่ธนาคารที่มีการดำเนินงานในประเทศมาเลเซีย มีจำนวนธนาคารมากที่สุด 311 ธนาคาร 

       ขณะที่ธนาคารในประเทศไทย มีจำนวน น้อยที่สุด คิดเป็น 58 ธนาคารเท่านั้น เมื่อเทียบกับ6ประเทศอาเซียน

        และธนาคารในประเทศไทย มีสัดส่วน หนี้ที่มีปัญหาประมาณ 4%ขณะเดียวกันธนาคารของประเทศไทย มีการสำรองเงินเผื่อหนี้สูญในระดับที่มากกว่าหนี้ที่มีปัญหาในสัดส่วนที่สูงต่อเนื่อง และสัดส่วนบัญชีเงินฝากระยะสั้นของไทย น้อยกว่า 1ปี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นับตั้งแต่ ปี 2560 ผลสำรวจ ‘เฟทโก้’ แบงก์ไทย NPL มากสุดในกลุ่มอาเซียน พบหนี้เสียพุ่ง 4%