เครดิตบูโร ชี้ ‘เจนวาย‘ มีหนี้เสีย-ค้างชำระ สินเชื่อ‘รถยนต์’ กว่า 7แสนบัญชี

เครดิตบูโร ชี้ ‘เจนวาย‘ มีหนี้เสีย-ค้างชำระ สินเชื่อ‘รถยนต์’ กว่า 7แสนบัญชี

เครดิตบูโร เปิดข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทย พบไตรมาส 1 ภายใต้หนี้เสียที่ 1.09 ล้านล้านบาท มาจากสินเชื่อรถยนต์กว่า2.38 แสนล้านล้านบาท และมีหนี้ที่กำลังจะเสียอีก 2 แสนล้านบาท ในนี้พบว่า หลักๆมาจากกลุ่ม GenY พบมียอดค้างชำระและเป็นหนี้เสียรวมกันกว่า 7แสนบัญชี กว่า 2.4 แสนล้าน

หนี้เสีย” หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบการเงินถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ หลัง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร รายงานตัวเลขหนี้เสียของครัวเรือนไทยทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาส1ปี 2567 โดยอยู่ที่ 1.09ล้านล้านบาท คิดเป็นราว 8% ของ 13.64ล้านล้านบาท ของสินเชื่อทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ข้อมูลของเครดิตบูโร

โดยพบว่าหนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.9% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีกอ่น  และมียอดค้างชำระ หรือกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ที่ยังไม่เกิน 90%ที่เรามักเรียกกลุ่มนี้ว่า “SM” วันนี้มีถึง 6.4 แสนล้านบาท คิดเป็นราว 4.7% ของสินเชื่อทั้งหมด โดยเติบโตขึ้นมาถึง 7.3%จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ยิ่งหากดูไปลึกๆ พบว่า กลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก คือ “สินเชื่อรถยนต์”ที่พบว่ามีอัตราการเกิดหนี้เสียจำนวนมาก โดยหนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 32% จากช่วงเดียวกันปีก่อน  มาอยู่ที่ 2.38แสนล้านบาท และยังมีกลุ่มที่ค้างชำระอีก 2 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นราว 7.1% ไม่เพียงเท่านั้นพบว่า ยังมีสินเชื่อรถยนต์ ที่ยังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอีก 3.9 หมื่นล้านบาท

 “เครดิตบูโร” ระบุว่า หนี้เสียในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ มีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 และยังมีหนี้ที่กำลังจะเสีย หรือค้างชำระมาแล้วไม่เกิน 90วัน เพิ่มขึ้นตลอด ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2564  ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าการปรับโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสียแล้ว(TDR) ทำได้ไม่มากนัก หรือยังอยู่ระดับคงที่

ยิ่งหากไปดูด้านรายละเอียดของกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย และหนี้ค้างชำระในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ พบว่า เกือบทั้งหมดมาจากกลุ่ม เจนวาย โดยเครดิตบูโร เปิดเผยตัวเลขไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า กลุ่ม Gen Y เป็นหนี้เสียรถยนต์แล้ว 4.15 แสนสัญญา หรือบัญชี ซึ่งคิดเป็นยอดวงเงินรวมที่ 1.28 แสนล้านบาท และกำลังเป็นหนี้เสีย(SM)อีก 2.98 แสนสัญญา หรือ 1.14 แสนล้านบาท 

ซึ่งหากรวมทั้งสองกลุ่ม Gen Y เป็นหนี้เสีย และค้างชำระโดยรวมกว่า 7 แสนบัญชี หรือ 7.13 แสนบัญชี ซึ่งคิดเป็นยอดสินเชื่อถึง 2.4 แสนล้านบาท