กลุ่ม JMART ราคาหุ้นสไลด์ยกกลุ่ม มรสุมกระทบความเชื่อมั่น

กลุ่ม JMART ราคาหุ้นสไลด์ยกกลุ่ม มรสุมกระทบความเชื่อมั่น

หุ้นขนาดกลาง “ท็อป ออฟ เดอะ ทาวน์ “ ชาวหุ้นปะทุขึ้นมาหลายหุ้น แต่ที่มีประเด็นต่อเนื่องคงไม่พ้น กลุ่ม เจ มาร์ท ที่เผชิญแรงขายกดดันราคาร่วงหลุดนิวโลว์เป็นว่าเล่น จากเซอร์ไพรส์พลิกขาดทุน และยังมีความเสี่ยงอาจจะเผชิญขาดทุนต่อเนื่องในไตรมาส 2 ปี 2566

     สถานการณ์ของหุ้นบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART  เจอแรงขายกระหน่ำตั้งแต่เหตุการณ์ corner แยกจนพากันเกิดแพนิกเซลล์จากการ ใช้บัญชีมาร์จิ้น และเจอ Margin Call หรือเรียกหลักประกันเพิ่มเติมหลังราคาร่วงลงต่ำ และหากไม่พอต้องถูกบังคับขาย หรือ Force Sell ตามมาอีกในช่วงเดือนก.พ. ที่ผ่านมา

      หนึ่งในหุ้น corner คือ JMART ที่ถูกเทขายออกมาจนทำให้ราคาหุ้นหลุดจากระดับ 40 บาท และ30 บาทในที่สุด ภายในระยะเวลา 1 เดือน   โดยมีรายการขายหุ้น Big Lot  จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ช่วงวันที่ 15-16 ก.พ.66 จำนวนรวม 54 ล้านหุ้น

       โดยเป็นการขายของ ‘อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา”  ก่อนทำรายการ 195,388,916 หุ้น คิดเป็น 13.41% หลังทำรายการมีจำนวน 181,388,916 หุ้น คิดเป็น 12.45%  และภรรยา “ยุวดี พงษ์อัชฌา “ก่อนทำรายการหุ้นจำนวน 110,894,154 หุ้น คิดเป็น 7.61% หลังทำรายการมีจำนวน 70,894,154 หุ้น คิดเป็น 4.86% ระบุเป็นการขายให้กับกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั้งหมด

            พร้อมออกมาชี้แจง ว่าการตัดขาย Big Lot  ดังกล่าวสาเหตุมาจาก Margin Call จากปัญหาส่วนตัวแต่ ไม่กระทบธุรกิจบริษัท พร้อมยืนยันคงฐานะหุ้นใหญ่บริหารงานต่อไป และยังเชื่อมั่นธุรกิจยังเติบโตต่อ

            ท่ามกลางความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนตั้งแต่งบการเงินไตรมาส 4 ปี 2565 ของบมจ.ซิงเกอร์ ประเทศไทย (SINGER) ที่รายงานกำไรปี 2565 เท่ากับ 935.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไร 700.59 ล้านบาท แต่ที่น่าสนใจคือ หนี้เสียหรือ NPL ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ที่ 3.7% สู่ 4.6%  ในไตรมาส 4 ปี 2565 จากฝั่งเครื่องใช้ไฟฟ้า  จึงทำให้เริ่มมีการปรับประมาณการตัวเลขกำไรของ SINGER อย่างถ้วนหน้า

         จนตัวเลขกำไรไตรมาส 1 ปี 2566 ออกมา  SINGER รายการพลิกขาดทุนเป็น 843 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรเกือบ 500%  มาจากปัญหา NPL  รวมทั้งบริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SGC  ที่ตัวเลข  NPL พุ่งเกิน 10% มาที่ 11% ทำให้ต้องมาคุมคุณภาพของสินเชื่อ และ SGC  รายงานกำไรไตรมาส 1ปี 2566   พลิกขาดทุน  368.35 ล้านบาท ลดลง  336.83% 

        ผลกระทบจาก 2 บริษัททำให้ JMART เผชิญขาดทุนในไตรมาสดังกล่าว  294.7 ล้านบาท ลดลง 9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีกำไร 325.1 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของกำไรรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจาก SINGER ตามสัดส่วนที่ 25.2% มูลค่า 218 ล้านบาท และผลจากการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized Loss) จากเงินลงทุนในตราสารทุน 352 ล้านบาท (หลังหักภาษี) โดยหากไม่รวมผลจากการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (หลังหักภาษี) บริษัทจะมีกำไรสุทธิ 57 ล้านบาท

        ปัจจัยดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นทั้งกลุ่มพากันสไลด์ขาลงแบบยกกลุ่ม JMART ราคานิวไลว์หลุด 20 บาทต่ำสุดที่ 18.10 บาท  รวมตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นลดลงแล้ว  55%  หุ้น SINGER  ราคานิวโลว์ที่ 10 บาท  และตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นปรับตัวลดลง  62%  หุ้น SGC พึ่งเข้าตลาดหุ้นเมื่อปลายปี 2565  ที่ราคาไอพีโอ  3.90 บาท เคยทำราคาขึ้นไปแตะ 5.00 บาท  แต่ราคาหุ้นปัจจุบันทำนิวโลว์ที่ 2.14 บาท ซึ่งตั้งแต่ต้นปีราคาลดลงมาแล้ว   55.65%

         ด้านการลงทุนบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)เคจีไอ  (ประเทศไทย)  SINGER กําลังเผชิญกับปัญหา NPL ก้อนใหญ่จากธุรกิจสินเชื่อลิสซิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดําเนินการจากบริษัทลูก (SGC) บวกกับการลาออกของผู้บริหารคนสําคัญจึงเป็นสัญญาณลบต่อแนวโน้มผลประกอบการในระยะสั้น และทําให้เกิดความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว

         จากการเติบโตน่าเป็นห่วง SINGER ถูกวางกลยุทธ์ให้เป็นช่องทางหลักในการจัดจําหน่ายสินค้าให้กับ J-Mobile  โดยยอดขายในปี 2565  ของ SINGER เกือบ 1 พันล้านบาท(หรือประมาณ 36% ของยอดขายรวม) เป็นการขายสินค้า IT ที่มาจาก J-Mobile นอกจากนี้ JMART  (ผู้ถือหุ้นใหญ่ของSINGER) ก็พยายามจะผลักดันให้ SINGER เป็นกลไกหลักสําหรับธุรกิจการปล่อยขยายสินเชื่อผู้บริโภค

          การแก้ NPL ทําให้เกิดความกังวลกับการสํารองฯ  และผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์NPL ที่แท้จริงของ SINGER พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงปรับลดกําไรปี 2566 - 2567 ที่ 53% และ 29% ตามลำดับ  พร้อมปรับลดราคา TP- ปี 2566 เหลือ 11.60 บาท,และแนะนําขายการปรับลดประมาณการกําไร

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์