"Polycrisis” อาจเร่งปัญหา "กองทุนประกันสังคม" เกิดเร็วขึ้น

"Polycrisis” อาจเร่งปัญหา "กองทุนประกันสังคม" เกิดเร็วขึ้น

เตือน “ Polycrisis” อาจเร่งปัญหากองทุนประกันสังคมเกิดเร็วขึ้น การเข้ามาของเอไอต้องมาช่วยงานไม่ใช่ทำให้คนตกงาน ลงทุนควรเน้นปลอดภัยก่อนอัตราตอบแทนสูง แนะควรมีแผนพัฒนากำลังคนระดับจังหวัด-ภาค สร้างเศรษฐกิจภูมิภาคโต

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก(WTO) และเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD)ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความคุ้มครองทางสังคมและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ” ภายในงานประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับกองทุนประกันสังคม เมื่อเร็วๆนี้ว่า ในเรื่องประกันคุ้มครองสังคมอยากให้ทุกฝ่ายมารร่วมกันทำงานให้ได้

ที่สหประชาชาติการคุ้มครองสังคมมี 3 รูปแบบ 1.การคุ้มครองสังคมในลักษระกสังคมเสงเคราะห์ ดูแลคนรายได้น้อย เปราบาง มีปัญหาสุขภาพ คุ้มครองสัวสดิการสังคม

2.การดูแลใช้แรงงาน ผู้ทำงาน

\"Polycrisis” อาจเร่งปัญหา \"กองทุนประกันสังคม\" เกิดเร็วขึ้น

และ3.การเพิ่มความสามารถในการทำงานให้กับประชาชน ทั้ง 3 อย่างนี้ต้องไปด้วยกัน ซึ่งในระบบของการมีสังคมสูงวัย  ผู้สูงวัยไม่ไช่ป็นภาระของระบบแต่สามารถเป็นสินทรัพย์ของระบบได้ดียิ่งและในหลายประเทศ โดยเฉพาะยุโรป ผู้สูงวัยทำงานยาวขึ้น และระบบผู้บริหารทั่วไปบางที่ไม่มีข้อจำกัดตราบที่มีสัญญายังทำงานอยู่

สิ่งที่สหประชาชาติให้ความสำคัญอยู่ในแผนSDGs 17 เป้า ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญ มีเป้าหมายเรื่องเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่สหประชาชาติพยายามเสนอออกมาคือไม่พูดเรื่องความร่ำรวยอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของประชาชนด้วย จึงจะเป็นการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์

"หวังว่ากระทรวงแรงงานและรัฐบาลจะดูแลเรื่อง SDGs 17 เรื่องให้ได้อย่างดีเมื่อพัฒนาแล้ว ต้องเหลือสิ่งแวดล้อม มีทรัพยาการเหลือให้คนรุ่นหลังด้วย ต้องพัฒนาแล้วคนอายุยืนยาว  เด็กเจริญเติบโตมีโอกาสทำงานยืนยาวขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น สุขภาพดีชึ้น ไม่ใช่แค่จีดีพีดีอย่างเดียว”ดร.ศุภชัยกล่าว 

Polycrisis อาจเร่งปัญหาประกันสังคม

ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า การวางแผนระยาวสำคัญมาก ถ้าไม่มีการเตรียมแผนรองรับไว้ก่อนจะเป็นปัญหาแน่นอน อย่างที่มีการบอกว่าหากไม่ทำอะไรตัวสมดุลระหว่างรายรับรายจ่ายกองทุนประกันสังคมในอีก 30 ปีข้างหน้าเมื่อถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็จะเป็นจุดที่ขาลง  ไม่มีทางดีขึ้น  แต่สิ่งที่สำนักงานประกันสังคมกำลังดำเนินการคือยืดเวลาออกไปข้างหน้าหรือไม่ให้เกิดขึ้นแล้วแต่ให้อยู่ได้มีความยั่งยืนเลี้ยงตัวองได้อย่างถาวร  

“ขอเตือนนิดเดียวว่าสถานการณ์กองทุนประกันสังคมที่มีการประเมินไว้ตัวเลข 30 ปี  ก็ขึ้นกับสถานการณ์ ซึ่งโลกขณะนี้เป็นโลกของ Polycrisis มีวิกกฤติทุกรุปแบบ เพราะฉะนั้นจุดสูงสุดของกองทุนอาจจะไม่แน่นอนอย่างที่ประเมินไว้ จึงต้องคิดเผื่อด้วยว่าหากเกิดขึ้นในอีก 20-30 ปีข้างหน้าหรือ 30 ปีขึ้นไปจะเป็นอย่างไร”ดร.ศุภชัยกล่าว 

 ส่วนเรื่องความยั่งยืนของกองทุน  จะต้องพยายามสร้างประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน  ซึ่งกองทุนคุ้มครองสังคมทุกประเทศ จะมีปัญหาไม่ทางใดทางหนึ่งตลอดเวลา ยกเว้น เมื่อแศรษฐกิจมีการพัฒนาที่ยั่งยื่นได้ อย่างกลุ่มประเทศสแกนดิเนีวย  เนเธอร์แลนด์มีการคุ้มครองทางสังคมที่พร้อมสมบูรณ์ แต่มีการแก้ไข ปฏิรูปตลอดเวลา  กฎระเบียบ ขยายเวลาคุ้มครอง ขยายโรคที่คุ้มครอง ซึ่งเป็นสังคมสูงวัยมาอยู่แล้ว ก็ต้องปรับอายุเกษียณไปเรื่อยๆ และไทยต้องทำแน่นอน และคนทำงานนานขึ้นต้องให้การกระตุ้นเป็นพิเศษเป็นการให้คุณค่าผู้สูงวัย

เกิดPolycrisis ต้องปฏิรูปเศรษฐกิจให้ทัน

Polycrisis เป็นสิ่งที่จะต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้ทันเหตุการณ์มีสิ่งที่น่าเป็นห่วง ประกอบด้วย  1.การเข้ามาอย่างรวดเร็วของ Digitalization, ออโตเมชั่น และเอไอ ซึ่งเมื่อเข้ามาต้องช่วยมนุษย์ไม่ใช่เข้ามาทดแทนมนุษย์ ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานไปอีกมาก จึงต้องแมชชิ่งระหว่างคนที่ผลิตออกมาได้และคนที่ต้องการในอนาคต  ดังนั้น ต้องมองลักษณะสมดุลการจะเอาเอไอมาใช้ต้องมีคณะกรรมการร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างต้องเห็นพ้องกันว่าเข้ามาแล้วมาช่วยงานหรือจะมาทำให้คนตกงาน ถือเป็นปัญหาโดยตรงต่อกองทุนประกันสังคม

2.Geopolitics เอเชียตะวันออกเสถียรภาพจะไม่ดีอย่างที่เคยมี เพราะสหประชาชาติบอกว่าตัวเลขสะสมอาวุธอยู่ในเอเชียมาก  เพราะฉะนั้น Geopolitics จะนำไปสู่geoeconomics แน่นอน จึงต้อง ต้องมีการเตรียมพร้อมอาหาร พลังงาน ยารักษาโรค ต้องพัฒนาคนในการดูแลเรื่องเหล่านี้

3.Demographic  ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี มีการระบุเรื่องเศรษฐกิจชุมชนที่จะใช้ผู้สูงอายุได้อย่างดี ไปช่วยเชิดชูและทำเป็นระบบขึ้นมาทั้งประเทศ ถ้าผู้มีความสามารถเข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุอย่างเดียว แต่ไปดึงGen Y, Gen Z ให้เข้าใจการมองโลกครบถ้วนทุกด้าน รักษาเสถียรภาพสังคมและเศรษฐกิจได้

4.สิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์  สภาพแวดล้อมทำงานต้องรักษาสิ่งแวดล้อม ปล่อยสิ่งเป็นพิษให้น้อยสุด

และ5.การเงิน กองทุนประกันสังคมมีเงินมาก การบริหารกองทุนโดยดูเรื่องการได้อัตราผลตอบแทนที่ดีขึ้นจำเป็นมาก แต่ทางกลับกันต้องมีความสมดุลระหว่างอัตราตอบแทนและความเสี่ยงต้องพิจารณาให้ดี เพราะภาวะเศรษฐกิจของโลกที่มีความผันแปรและมีวิกฤติของโลกที่ค่อนข้างมาก

 การลงทุนที่อัตราผลตอบแทนสูงก็จะมีความเสี่ยงสูงด้วย ส่วนตัวมองว่าโอกาสหาอัตราผลตอบแทนสูงและมีความปลอดภัยอาจจะมีไม่มาก จึงอยากให้เน้นความปลอดภัยก่อน แต่ถ้ามีการวิเคราะห์การลงทุนอยากดีที่สุดแล้วทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม จะเห็นว่าการลงทุนต้องดูแลอย่างไร  
\"Polycrisis” อาจเร่งปัญหา \"กองทุนประกันสังคม\" เกิดเร็วขึ้น

ต้องมีแผนพัฒนากำลังคนระดับภาค-จังหวัด

ดร.ศุภชัย กล่าวอีกด้วยว่า ภาวะการทั่วไปทางด้านเศณษฐกิจ ที่มีผลกระทบต้อการใช้แรงงาน  ด้านผู้มีงานทำต้องช่วยให้ดีที่สุด ให้มีปัญหาน้อยสุด ให้มีผลกระทบต่อประบบประกันน้อยที่สุด เช่น  ทำแรงงานมีประสิทธิภาพ ที่ดีขึ้น โดยอยากเห็นแผนพัฒนากำลังคนระดับภาคและจังหวัดให้ชัดเจน  ซึ่งเศรษฐกรุงเทพฯโต 10 เท่าของเมืองรอง ต้องลดตัวเลขนี้ลงมา

เพราะฉะนั้น กระจายการอบรมลงไปในต่างจังหวัดให้สะท้อนกับสังคมที่แต่ละภูมิภาคต้องการ เช่น ภาคอีสานต้องเชื่อมโยงกับประเทศลุ่มแม่โขง ก็ต้องวางแผนไปด้านนั้น ไม่ใช่ทุกอย่างอยู่กรุงเทพแล้วส่งกลับไปภูมิภาค แต่จะต้องไปอยู่ต่างจังหวัดให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ ด้านการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมของรัฐบาลนั้น เงินของประเทศ งบประมาณที่มีอยู่ไม่น้อยที่ใช้ไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดผลที่ดี   เช่น กองทุนน้ำมันที่มีการให้เงินอุดหนุนเท่ากับมีการเผาผลาญน้ำมันทุกวันคืนไม่จำกัด แม้จำเป็นต้องใช้ แต่ต้องทำให้การเผาผลาญพลังงานฟอสซิลไม่มีการอุดหนุน  

หรือกองทุนประกันสังคม มีการลดเงินสมทบพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งภาระแบบนี้จะมากขึ้น ทางกลับกันกองทุนต้องการค่อยๆขยับสัดส่วนเงินสมทบเข้ามามากขึ้นด้วย  ดังนั้น บางครั้งต้องขัดใจประชาชนและยอมถูกโมตี

“การบริหารภาพรวมต้องเป็นไปในทางเดียวกัน ต้องไม่มีผลกระทบเสียหาย เศรษฐกิจต้องยั่งยืนจึงจะทำให้ระบบประกันสังคมยั่งยืนได้”ดร.ศุภชัยกล่าว