กรมควบคุมโรค ประกาศเตือน ‘6 โรค 1 ภัยสุขภาพ” หน้าหนาว 

กรมควบคุมโรค ประกาศเตือน ‘6 โรค 1 ภัยสุขภาพ” หน้าหนาว 

กรมควบคุมโรค ออกประกาศป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาว ปี 2567 เตือนระวัง 6 โรคและ 1 ภัยสุขภาพ ทั้งระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารและโรคนำโดยแมลง โรคมาลาเรีย โรคสครับไทฟัส

KEY

POINTS


 

เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2567  นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2567 ระบุว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง บางพื้นที่มีอากาศ หนาวเย็นจัด อุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดในแถบพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในบางจังหวัด รวมถึงในพื้นที่ที่มีภูเขาสูงและป่าไม้ล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน และเป็นสถานที่ท่องที่ยวที่ต้องรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงวันหยุด ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพ และเพิ่มแนวโน้มความเจ็บป่วยด้วยด้วยโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อและภัยสุขภาพกรมควบคุมโรค ในฐานะหน่วยงานที่มีบหบาทภารกิจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพ มีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน จึงขอให้ประชาชนหมั่นดูแลร่างกายให้อบอุ่น และแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากโรคและภัยสุขภาพ ดังนี้

กลุ่มโรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่

  • โรคไข้หวัดใหญ่
  • โรคปอดอักเสบ
  • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19

กลุ่มโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่

รคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน  แนวทางป้องกันโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

  • การสร้างความตระหนักด้านการรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังจากสัมผัสสิ่งสกปรกทุกครั้ง
  • รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ หากต้องการเก็บรักษาอาหารที่เหลือจากการรับประทานอาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือภาชนะที่ปิดมิดชิด และนำมาอุ่นให้ร้อนจัดก่อนรับประทาน
  • ควรดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุก หรือน้ำบรรจุขวดที่มีฝาปิดสนิท และเลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย
  • เลือกบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย ผักและผลไม้ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
  • ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสถานที่ในชุมชน รวมถึงสถานที่เตรียม ปรุง และประกอบอาหาร ห้องน้ำห้องส้วม ควรให้ถูกหลักสุขาภิบาล ถังขยะควรมีฝาปิดมิดชิด และกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปสิ่งปฏิกูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • ผู้ประกอบอาหารและพนักงานเสิร์ฟอาหาร ควรมีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ สวมใส่หมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อนทุกครั้ง หากมีอาการุอจจาระร่วงควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายหรือตรวจไม่พบเชื้อในอุจจาระ
  • การเข้ารับวัคซันป้องกันเชื้อโรตาไวรัส ในเด็กเล็ก

กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่

โรคไข้มาลาเรีย วิธีป้องกันโรค

1.ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แพร่เชื้อ

  • นอนในบ้านหรือกระท่อมที่ได้รับการพ่นสารเคมีติดข้างผนังบ้าน
  • นอนในมุ้งซุบสารเคมี (มุ้งซุบน้ำยา) ทุกคืน โดยอาจเป็นมุ้งธรรมดาที่นำไปชุบสารเคมี หรือมุ้งชุบสารเคมีแบบสำเร็จรูป หรือหากต้องค้างคืนในป่าควรนอนในเปลที่มีมุ้งคลุมเปล
  • ทายากันยุงบริเวณผิวหนังนอกเสื้อผ้า และใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดแขนขาให้มิดชิด

2.นักท่องเที่ยว เมื่อต้องค้างคืนในป่า ควรนอนในมุ้งทุกคืน หรือทายากันยุงบริเวณผิวหนังนอกเสื้อผ้าและใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดแขนขาให้มิดชิด ทั้งนี้หลังออกจากป่า 7-14 วัน หากมีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาโดยเร็ว

โรคสครับไทฟัส

วิธีป้องกันโรคยังไม่มีวัดขืนป้องกันโรค ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของการได้รับรับเชื้อ คือ การเลี่ยงไม่ให้ถูกไรอ่อนกัด ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของไรอ่อน เช่น ทุ่งหญ้า พุ่มไม้ ต้นหญ้าตามคันนา ต้นหญ้าที่ขึ้นตามสวนยาง สวนผลไม้ ป่าละเมาะ พื้นที่เกษตรใกล้ป่า บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ ๆ ที่แสงแดดส่องไม่ถึง เป็นต้น
  • หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนลงบนพื้นดินหรือหญ้า ไม่ให้ถูกไรอ่อนกัด โดยการสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดปกปิดแขนขา และใช้ยาทากันแมลงกัด ทาบริเวณแขน ขา หรือสวมเสื้อผ้าที่ฉีดพ่นสารไล่แมลง เป็นต้น
  • เมื่อออกจากพื้นที่เสี่ยง แนะนำให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและสระผม สำรวจร่างกายตนเองว่ามีผื่น แผล หรือแมลงเกาะตามตัวหรือไม่ และควรนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกเข้มข้นทันที ไม่ควรถอดทิ้งไว้และนำกลับมาใส่ใหม่
  • เก็บขยะรอบ ๆ ที่พักอาศัย ไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนของหนูโดยเฉพาะบ้านที่อยู่บริเวณชายป่า

ภัยสุขภาพ

การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว

จากข้อมูลการเฝ้าระวังการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว จึงควรให้การช่วยเหลือ

และให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน ดังนี้

1. ประชาชนควรเตรียมความพร้อม ดูแล ส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินชีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่น ๆ เป็นต้นและดื่มเครื่องดื่มที่สามารถให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้

2. ให้การดูแลสุขภาพเป็นพิเศษในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้พิการ เป็นต้น

3.สวมใสเครื่องนุ่งห่มที่เพียงพอรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ จัดเตรียมเครื่องนุ่งห่มกันหนาวให้พร้อมและอยู่อาศัยในที่อบอุ่นสามารถป้องกันลมในภาวะอากาศหนาวได้อย่างเหมาะสม
4.งดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากการดื่มเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในช่วงทาวะอากากาศหนาวมากขึ้น

5.ระมัดระวังและเฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาอาการชัก และอื่น ๆ ที่มีผลทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง

6.ควรหมั่นดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และรักษาความสะอาด ล้างมือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และไม่ห่มผ้าหรือสวมเสื้อผ้าที่เปียกขึ้น
กรมควบคุมโรค ประกาศเตือน ‘6 โรค 1 ภัยสุขภาพ” หน้าหนาว 

ป้องกันโรคทางเดินหายใจ

ล่าสุด  เมื่อวันที่  6 พ.ย.2567 ที่กรมควบคุมโรค ในการแถลงข่าว “หน้าหนาวอุ่นใจ ปลอดภัย ห่างไกลโรค” พญ.จุไร วงค์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  กล่าว ว่า ช่วงปลายปี เป็นช่วงที่มีเทศกาลรวมตัวของผู้คน ทั้งงานทอดกฐิน งานลอยกระทง ฉลองคริสต์มาส ปีใหม่ อีกทั้งยังมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นที่เอื้อต่อการคงอยู่และแพร่กระจายของเชื้อ  จึงเป็นช่วงที่โรคทางระบบทางเดินหายใจจะเพิ่มขึ้น โดยโรคทางระบบทางเดินหายใจที่ขอเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังในช่วงนี้ เสี่ยงติดเชื้อง่ายและป่วยเป็นกลุ่มก้อน

ได้แก่ โรคโควิด 19 ที่ปัจจุบันสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดส่วนใหญ่ยังเป็น JN.1 แม้จะแพร่กระจายเพิ่มแต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่ม จึงยังมีโอกาสเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนได้ในที่ที่ผู้คนรวมตัวกันมาก โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 27 ต.ค.- 2 พ.ย.2567 พบผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 549 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสมรวม 41,142 ราย

ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ แม้แนวโน้มผู้ปวยลดลง แต่ตั้งแต่ต้นปีจนขณะนี้พบคนป่วยยังสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี โดยพบผู้ป่วยสะสมรวมแล้ว 595,855 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 47 ราย และโรคปอดอักเสบจากไวรัส RSV พบผู้ป่วยรวม 7,076 ราย แต่มีผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลมากถึง 3,275 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.64 ซึ่งมากกว่าโรควิด 19 มาก จึงขอเตือนประชาชนระวังทั้ง 3 โรค โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เป็นกลุ่มป่วยมากสุด กับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะที่มีโรคประจำตัว เป็นกลุ่มที่เมื่อป่วยแล้วอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิต

ด้านนพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ โฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวถึงแนวทางการป้องกัน ว่า ทั้ง 3 โรค เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเหมือนกัน การแพร่เชื้อจึงติดกันได้จากฝอยละอองน้ำมูล น้ำลายเช่นกัน จึงป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ กินอาหารปรุงสุกร้อนสะอาด ใช้ช้อนกลาง เมื่อป่วยให้เลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่มีคนรวมกลุ่มกันจำนวนมาก
และทั้ง 3 โรคมีวัคซีนป้องกันจึงแนะนำกลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยมีโรคประจำตัวรับวัคซีนป้องกันทุกปี หากป่วยควรควรรีบพบแพทย์ให้เร็ว ไข้หวัดใหญ่ควรรีบหาภายใน 2 วัน โควิดภายใน 5 วัน เพราะมียารักษาเฉพาะที่ช่วยให้อาการดี ไม่ลงปอด ส่วนการติดเชื้อ RSV ไม่มียาจำเพาะ ต้องรักษาตามอาการ แต่เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสปอดอักเสบได้มากโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จึงควรรีบพบแพทย์เช่นกัน