4 ปัจจัยทางเลือก LGBTQAI+ ศัลยกรรมอย่างไร? ให้ปลอดภัย

4 ปัจจัยทางเลือก LGBTQAI+  ศัลยกรรมอย่างไร? ให้ปลอดภัย

สองสมาคมศัลยแพทย์ฯตกแต่งแห่งประเทศไทย ผนึกกำลัง จัดงาน Make  Beauty Safe  for  LGBTQAI + ให้ความรู้เพื่อศัลยกรรมที่ปลอดภัยโดยผู้เชี่ยวชาญ  แนะพิจารณา 4 ปัจจัย เพื่อการศัลยกรรมที่ปลอดภัย

เพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย จัดงาน Make Beauty Safe for LGBTQAI+ วาระพิเศษเพื่อเน้นย้ำสาระสำคัญของการศัลยกรรมปลอดภัย

พร้อมให้ข้อมูลการศัลยกรรมเต้านมและการเลือกใช้ซิลิโคนเต้านมสำหรับสาวข้ามเพศ แนะทุกการศัลยกรรมมีความเสี่ยงแต่หากพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจะช่วยลดความเสี่ยงในการศัลยกรรมและได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจ โดยงานนี้ได้รับการสนับสนุนในบางส่วนจากบริษัทเครื่องมือแพทย์เกี่ยวกับการศัลยกรรมเสริมหน้าอก กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าเมนเทอร์ โดยบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เมดเทค (ประเทศไทย) จำกัด

ศ. นพ. อภิชัย อังสพัทธ์ นายกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญของศัลยกรรมทุกชนิด ขึ้นกับความรับผิดชอบของแพทย์ สถานพยาบาล ผู้ประกอบการ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ศัลยกรรมต่างจากธุรกิจอื่นที่ความเสียหายอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องทรัพย์สินและชื่อเสียง แต่หากเกิดความเสียหายจากการศัลยกรรมอาจเกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ  จึงขอส่งสาระสำคัญว่า Make Beauty Safe หรือ ศัลยกรรมปลอดภัย เป็นแก่นของการทุกศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสวย หากขาดเรื่องความปลอดภัย เรื่องอื่นก็ไม่มีความหมาย แต่ถ้าเราสามารถรักษาความปลอดภัยไว้ได้ ศัลยกรรมนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์และมีความหมายต่อสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

Top3 ศัลยกรรมความงาม รพ.ยันฮี เจาะกลุ่ม CLMV

ไทย 'ฮับศัลยกรรม' ค่าใช้จ่ายถูก GenZ เข้าใช้บริการหัตถการพุ่ง

เลือกศัลยกรรม ต้องเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภายในงานได้รับเกียรติจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอินฟลูเอ็นเซอร์ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ประกอบด้วย รศ. นพ. กิดากร กิระนันทวัฒน์  นพ. ปิติ รุจนเวชช์ นพ. พีรยะ กนกศิลป์ ผศ .พญ. พูนพิศมัย สุวะโจ พญ. วนันยา โพธิ์ชัย นพ. วิศรุต ศรีวงษ์เรืองกิจ นพ.  ศิวัตม์ ล้วนรักษา คุณกัญญ์วรา แก้วจีน คุณชนัญชิดา รุ่งเพชรรัตน์ และคุณฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ โดยมีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ดังต่อไปนี้

นพ. วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่าแพทย์เป็นปัจจัยแรกๆ ที่ผู้รับบริการมักคิดถึงในเชิงของชื่อเสียงและการเป็นที่รู้จัก ในมุมมองของสมาคมวิชาชีพ ผู้รับบริการศัลยกรรมควรพิจารณาถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของศัลยแพทย์ด้านตกแต่งและเสริมสวย เพราะได้ผ่านการเรียนและฝึกฝนเฉพาะทาง 5-7 ปี เพื่อให้บริการบนพื้นฐานความปลอดภัยและแก้ไขขณะทำแล้วเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดเพื่อลดโอกาสเกิดความเสี่ยงต่างๆ

ผู้รับบริการสามารถคัดกรองความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทางได้ที่ เว็บไซต์สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และเว็บไซต์แพทยสภาที่มีข้อมูลการรับรองหลักสูตรเฉพาะทาง เนื่องจาก ศัลยกรรมเป็นบริการที่ไม่สามารถทดลองทำเหมือนบริการอื่นๆ ดังนั้น ไม่ควรรีบตัดสินใจ ควรปรึกษาแพทย์หลายท่าน จนพบแพทย์ที่เหมาะสมกับโจทย์ของตนเอง เมื่อคนไข้เลือกบริการบนพื้นฐานความปลอดภัยจะเป็นหัตถการเดียวที่ปลอดภัยทั้งชีวิต

4 ปัจจัยทางเลือก LGBTQAI+  ศัลยกรรมอย่างไร? ให้ปลอดภัย

ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อนเลือกศัลยกรรม

รศ. นพ. กิดากร กิระนันทวัฒน์  อาจารย์แพทย์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งและแม็กซิโลเฟเชียล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าควรพิจารณาให้มีวิสัญญีแพทย์ ที่ดูแลเราทั้งก่อน หลัง และระหว่างการผ่าตัดเพื่อสังเกตุอาการและรายงานผลผู้ป่วยขณะที่ศัลยแพทย์ผ่าตัดอยู่

นอกจากนี้ เครื่องมือแพทย์ หรือ ยาเป็นเป็นอีกปัจจัยสำคัญของศัลยกรรมปลอดภัย ควรศึกษาหาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจ แพทย์ที่มีจรรยาบรรณจะบอกข้อดีข้อเสียของเครื่องมือแพทย์ และมีข้อมูลอ้างอิงไปที่งานวิจัยที่รองรับด้านความปลอดภัย เช่น ซิลิโคนเต้านม จะมีข้อมูลความปลอดภัย เช่น การในผู้ใช้ทั่วโลกและเป็นระยะเวลาเท่าไร เกิดความไม่ปลอดภัยกี่เปอร์เซ็นต์ สถานพยาบาลสะอาด ปลอดภัย

ปัจจุบันสามารถดูเอกสารรับรองมาตรฐานจากราชการ เช่น กระทรวงสาธารณสุข และการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด การเสริมหน้าอกเป็นผ่าตัดเสริมสวยทำแล้วควรจะดีขึ้น และความปลอดภัยมีความสำคัญมาก

ผศ .พญ. พูนพิศมัย สุวะโจ ภาควิชาศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าการสื่อสารระหว่างคนไข้และแพทย์เป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกอย่างในการผ่าตัดศัลยกรรมไม่ใช่เฉพาะเต้านม ควรเลือกแพทย์ที่รับฟังความต้องการของเรา พิจารณาบุคลิกเรา และเหตุผลในการทำหน้าอก  ให้เวลาพูดคุยเพื่อค้นหาความต้องการที่ชัดเจนและตรงกับที่แพทย์สามารถทำให้ได้  การสื่อสารที่ดีระหว่างแพทย์กับคนไข้จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจและมีการแก้ไขน้อยลง

ซิลิโคนสำหรับสาวข้ามเพศ

นพ.ปิติ รุจนเวชช์ ศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะทาง กล่าวว่า สำหรับสาวข้ามเพศ แพทย์จะฟังความต้องการของคนไข้ และพิจารณาในด้านกายภาพ เช่น ความกว้างจากฐานหน้าอกเดิม ความยืดหยุ่นของเนื้ คนไข้ที่เคยมีประวัติการได้ฮอร์โมน ที่นอกจากทำให้มีเนื้อหน้าอกแล้ว ทำให้ผิวนิ่ม จะช่วยให้การเสริมหน้าอกมีปัญหาน้อยกว่าในคนที่มีเนื้อตึงและแข็ง

ปัจจัยดังกล่าวทำมาพิจารณาเลือกขนาดของซิลิโคน ปัจจุบันซิลิโคนมีรูปทรงที่แตกต่างกัน ทรงกลม ทรงหยดน้ำ หรือผิวที่แตกต่างกัน ผิวเรียบ หรือผิวทราย โดยทั่วไปผมมีแนวโน้มที่จะเลือกซิลิโคนทีมีงานวิจัยเรื่องความปลอดภัยรองรับ ได้รับ อย. จากไทยและสหรัฐอเมริกา การเลือกที่ถูกต้องทำให้ผลที่ออกมาแทบไม่ต่างกัน ปัจจุบันนอกจากคนไข้จะมาเสริมสวยแล้ว ยังต้องปลอดภัยในระยะยาวด้วย”  

ปัจจุบัน สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย และสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทยมีศัลยแพทย์ตกแต่งกว่า 400 รายชื่อสมาชิก ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับอนุมัติและวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือผู้ทรงคุณวุฒิในหลักสูตรสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง (Thai Board of Plastic and Reconstructive Surgery) จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภา ตามหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่งเป็นระยะเวลาของหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตร 7 ปี โดยประชาชนสามารถ ค้นหารายชื่อเพื่อตรวจสอบศัลยแพทย์ตกแต่งจากเว็บไซต์ของสมาคม https://www.thprs.org หรือ เฟสบุ๊ค facebook.com/ThaiPRS

4 ปัจจัยทางเลือก LGBTQAI+  ศัลยกรรมอย่างไร? ให้ปลอดภัย