วัยรุ่นเครียด เสี่ยงซึมเศร้า ฆ่าตัวตายสูง แนะพ่อแม่ต้องเป็นเซฟโซนให้ลูก
วัยรุ่นไทยเครียดสะสมสูงวัยทำงาน 4 เท่า! เสี่ยงซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ด้านจิตแพทย์ ระบุความเครียดของวัยรุ่นไม่ได้แก้ไขง่าย เพียงฟังเพลง เล่นเกม หรือคุยกับเพื่อน วัยรุ่นต้องการคนคอยแนะนำและอยู่เคียงข้าง แนะ พ่อแม่ต้องเป็นเซฟโซนให้ลูก
KEY
POINTS
- วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเครียดมากขึ้น และพบว่าความเครียดในวัยรุ่นสูงกว่ากลุ่มวัยทำงานถึง 4 เท่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวล
- ความเครียดของวัยรุ่นไม่ได้แก้
ไขง่าย อย่างการฟังเพลง เล่นเกม เพราะการจัดการกับความเครี ยดต้ องการคนคอยแนะนำและอยู่เคียงข้ าง - ครอบครัวควรจะเป็นเซฟโซนที่วั
ยรุ่นสามารถเล่าปัญหาหรื อระบายความรู้สึกโดยไม่ถูกตัดสิ นหรือมองว่าเป็นภาระ ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็ก ๆ อย่างเปิดใจ ไม่ละเลยหรือด้อยค่าความเครียด
ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน ทั้งการเรียน ความคาดหวังจากครอบครัว และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดความเครียดสะสม แต่บ่อยครั้งปัญหานี้กลับถูกมองข้ามจากครอบครัว ด้วยความคิดที่ว่าความเครียดของเด็กเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่รุนแรงเหมือนความเครียดของผู้ใหญ่ ทำให้แทนที่เด็ก ๆ จะมีที่พึ่ง กลับยิ่งทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและเครียดมากกว่าเดิม จนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ
จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยการสำรวจข้อมูลกลุ่มเด็กและวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 360,069 ราย ของกรมสุขภาพจิต ผ่านแอปพลิเคชั่น Mental Health Check-in ระหว่างวันที่ 12 ก.พ.65 - 27 ก.พ.67 พบเสี่ยงซึมเศร้าถึง 39,105 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.86 เสี่ยงฆ่าตัวตาย จำนวน 65,951 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.12 สอดคล้องกับการสำรวจในเขตสุขภาพที่ 1 (8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) จำนวน 20,562 ราย พบมีภาวะเสี่ยงซึมเศร้ามากที่สุด จำนวน 2,219 ราย และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 3,931 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
"วัยทำงาน"ป่วยจิต ระดับความเครียดพุ่ง!!
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำคนรุ่นใหม่ "หดหู่ เครียด ซึมเศร้า" และวิธีการรับมือ
ความเครียด ปัญหาของวัยรุ่นสูงกว่าวัยทำงาน 4 เท่า
นอกจากนั้น ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตในปี 2565 ชี้ว่าวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเครียดมากขึ้น และพบว่าความเครียดในวัยรุ่นสูงกว่ากลุ่มวัยทำงานถึง 4 เท่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวล
พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช ศูนย์สุขภาพใจ รพ.วิมุต จะชวนมาทำความเข้าใจว่าความเครียดของวัยรุ่นก็เป็นเรื่องใหญ่ไม่ต่างกับผู้ใหญ่ พร้อมแนะนำแนวทางที่ครอบครัวสามารถสนับสนุนวัยรุ่นให้มีสุขภาพจิตที่ดี ก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้
พญ. เพ็ญชาญา อธิบายเพิ่มเติมว่าบ่อยครั้งเวลาเราเจอปัญหาหรื
สัญญาณความเครี ยดในวัยรุ่น
วัยรุ่นในปัจจุบันต้องเผชิญกั
พญ. เพ็ญชาญา เล่าถึงสัญญาณของความเครียดว่า ปกติเด็กไม่ค่อยแสดงออกว่าตั
ครอบครัวต้องเป็นเซฟโซนให้เด็ก
คนที่ใกล้ชิดที่สุดอย่างครอบครั
พญ. เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ อธิบายต่อว่า ครอบครัวควรจะเป็นเซฟโซนที่วั
"คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องเข้าใจว่
าความเครียดของวัยรุ่นไม่ใช่เรื่ องเล็ก แต่เป็นปัญหาที่ต้องทำความเข้ าใจอย่างจริงจัง ในฐานะคนในครอบครัวก็อยากให้ช่ วยกันแก้ไขปัญหา รับฟังและพูดคุยกับพวกเขาอย่ างไม่ตัดสิน ทำให้ครอบครัวเป็นเซฟโซนที่เด็ก ๆ สามารถพึ่งพาได้ เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่า ไม่ว่าจะพบเจอกับความเครี ยดขนาดไหน ก็จะสามารถผ่านไปได้เสมอ" พญ. เพ็ญชาญา กล่าว