ทศวรรษที่ 3 "สสส." สานต่อ "นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน"

ทศวรรษที่ 3 "สสส." สานต่อ "นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน"

“20 ปี ภาคีสร้างสุข : นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8–10 พฤศจิกายน 2564

20 ปี ภาคีสร้างสุข : นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” กิจกรรมภายในงานมีการเสนอทิศทางและเป้าหมายในระยะ 10 ปี ของ สสส. และประกาศปฏิญญาสร้างเสริมสุขภาวะ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีเครือข่าย และภาคียุทธศาสตร์ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ กระทรวง กรมต่างๆ รวมถึงนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ จากสสส. และภาคีเครือข่าย ที่นำนวัตกรรมสุขภาพต่างๆ มานำเสนอ  อาทิ การจัด “กิจกรรม Active Learning” ผ่านนิทรรศการ 20 ปี ภาคีสร้างสุข ทั้งในสถานที่จริง และในรูปแบบนิทรรศการเสมือน แสดงผลงานนวัตกรรมสุขภาพ อาทิ โต๊ะประชุมยืน ช้อนปรุงลด เครื่องวัดความเค็ม Salt Meter เสาหลักนำทางจากยางพารา ฯลฯ  

สานพลังภาคี รวมพลังเพื่อสุขภาวะยั่งยืน

อาจกล่าวได้ว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการประกาศจุดยืนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของ สสส. ในการที่จะสานต่อสุขภาวะที่ยั่งยืนในทศวรรษถัดไป ด้วยพลังภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมนำไปสู่สังคม 

ทศวรรษที่ 3 \"สสส.\" สานต่อ \"นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน\"

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 กล่าวเปิดงานว่า “สร้างนำซ่อม” ถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง สสส. เป็นฟันเฟืองบทบาทสำคัญ ในการมีส่วนร่วม ขับเคลื่อนภารกิจหลักสร้างเสริมสุขภาพสังคมไทย  ตั้งแต่การให้ความรู้ข้อมูลสุขภาพในทุกๆ เรื่อง และในทุกมิติ       

สำหรับการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในระยะต่อไป ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยให้ยกระดับการทำงาน ลดขีดจำกัดในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ หาต้นเหตุของปัญหา คิดใหม่ ทำใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เริ่มจากต้นทุนเครือข่ายที่มี พัฒนาศักยภาพของคน ขยายผล ขยายประโยชน์ สู่สังคมวงกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสุขภาวะ ซึ่งต้องทำงานบูรณาการ สานพลังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น วิชาการ และภาคประชาชน 

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ สสส. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะมาตลอดระยะเวลา 20 ปี ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในการผนึกกำลังภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ผสานความร่วมมือวางแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในอนาคต เพื่อให้สังคมไทยมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญและคุณค่าของงานขับเคลื่อนการสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

พญ. พูนาม เคตราปาล ซิงห์ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลกประจำภูมิมีเอเชียใต้และตะวันออก ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ พร้อมกล่าวว่า กว่าสองทศวรรษ ที่ สสส. ได้พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือจำนวนมากบนฐานของความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยสสส.ได้นำภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาทำงานร่วมกันบุกเบิกวิธีการนวัตกรรมในการระดมทรัพยากร และสนับสนุนความร่วมมือข้ามภาคส่วน 

สสส. ไม่ได้ประสบความสำเร็จเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมในระดับสากล โดยสสส.เป็นตัวอย่างการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ซึ่งหวังว่า สสส.จะยังทำงาน จุดประกาย กระตุ้น ประสาน และสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่ดีทั้งในประเทศไทย และในระดับภูมิภาคและโลกต่อไป

ทศวรรษที่ 3 \"สสส.\" สานต่อ \"นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน\"

เดินหน้าสู่งานเสริมสุขภาพยุคใหม่

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสภาผู้สูงอายุแห่ปงระเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินราบรมราชชนนี กล่าวในการเสวนาเรื่องการส่งเสริมสุขภาพยุคใหม่ว่า องค์กรจะยั่งยืนได้ต้องมีประสิทธิภาพและมีบารมี ในงานส่งเสริมสุขภาพยุคใหม่ต้องมี 5 ปัจจัยความยั่งยืน ได้แก่ ความชอบธรรม การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล มีอุดมการณ์ มีคุณธรรม และมีการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว อย่างไรก็ดี มองว่า สสส. เป็นกระบวนการ ซึ่งมีความแตกต่างจากสถาบัน นั่นคือการทำเพื่อเป้าหมาย หรืออุดมการณ์ ไม่ใช่สถาบัน ที่เน้นความยิ่งใหญ่ขององค์กร หรือตนเอง

อีกบทบาทของ สสส. คือทำให้ภาคีเข้มแข็ง และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ซึ่งในอนาคตสสส.ต้องพยายามอย่างมากคือ การมุ่งสร้างความรู้และนวัตกรรมมากมาย เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไป และอีกสิ่งที่ สสส.ต้องพยายาม คือการลดช่องว่างโดยเฉพาะคนที่มีรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบางในสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เอ่ยในการเสวนาเดียวกันว่า คน สสส. เป็นคนมีคุณภาพ มีไฟในการทำงาน อยากให้ย้อนกลับไปดูว่าที่ก้าวมาถึงจุดนี้ เพื่อทบทวน สิ่งที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา และนำมาเป็นแนวทางสำหรับการทำงานต่อไปในอนาคต

สำหรับการจัดงานใช้รูปแบบไฮบริด ได้แก่ การจัดประชุมออนไลน์ (Online) หรือ Webminar และออนกราวนด์ (Onground) ซึ่งเป็นรูปแบบการประชุมวิชาการที่ตอบโจทย์การจัดงานในสมัยใหม่ ซึ่งจะคำนึงถึง มาตรการความปลอดภัยของภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมด้วยการผสมผสานกับการประชุมในรูปแบบ Health Meeting ซึ่งเป็นการประชุมที่ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นแบบการประชุมที่ สสส.พัฒนาเป็นนวัตกรรมการประชุมแนวใหม่ที่สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยในงานตลอด 3 วัน มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน 

3 คีย์เวิร์ดยั่งยืน

วิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ยังเป็นแกนหลักในการทำงาน สสส.ปัจจุบันและในอนาคต โดยบทบาทสำคัญของ สสส. คือการเป็นผู้สนับสนุน ในการจุดประกาย กระตุ้น สานและเสริมพลังบุคคล ชุมชน และองค์กรทุกภาคส่วน ในการเพิ่มขีดความสามารถสร้างสรรค์ระบบสังคมที่จะเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี” ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน สสส.มีภาคีเครือข่ายมากกว่า 20,000 ภาคี เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และส่งเสริมการมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนโดยใช้ยุทธศาสตร์ “ไตรพลัง ขับเคลื่อนสังคม”

สุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา หนึ่งในตัวแทนภาคีเครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนงานสุขภาพกับ สสส.มาต่อเนื่องกล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้เป็นตัวแทนภาคีสร้างเสริมสุขภาวะจากทุกภาคส่วน กล่าวปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ ประกาศเจตนารมณ์ "ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี โดยมิได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" 10 ข้อ ดังนี้

  1. มุ่งสู่การบรรลุทิศทางและเป้าหมายทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2565-2574) โดยขจัดปัจจัยเสี่ยงหลักและพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ
  2. ขยายและผนึกแนวร่วมเพื่อสร้างกลไก ขยายโอกาส สร้างความเป็นธรรมในสังคม
  3. พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ
  4. ขยายภาคีสร้างเสริมสุขภาวะที่มีความหลากหลายและครอบคลุม พัฒนาศักยภาพ เปิดพื้นที่ทางความคิดและทางกายภาพในการทำงานร่วมกันมากขึ้น
  5. ร่วมสานพลังสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  6. สร้างเสริมสุขภาวะสำหรับทุกช่วงวัย
  7. ร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้คนในสังคมไทยสามารถใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตสุขภาวะ
  8. มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและความเป็นพลเมืองของเด็กและเยาวชน
  9. มุ่งสานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการรองรับสังคมสูงวัย
  10. ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนพร้อมที่จะดูแล ร่วมมือ และปกป้อง สสส. ให้เป็นองค์กรของสังคมที่มั่นคง บริหารงานอย่างโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาล ปราศจากการแทรกแซง

เหลียวหลัง เพื่อมองไปข้างหน้า

ตลอดระยะ 20 ปี สสส. สร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ (Big Changes) ในประเด็นสุขภาพ อย่างน้อย 20 การเปลี่ยนแปลง ในทศวรรษหน้า สสส. และภาคีเครือข่าย ยังมุ่งเน้นการทำงานสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวะปัญหาหรือสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รับมือโจทย์ใหม่ๆ ที่มีความท้าทาย เน้นสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเอง และลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศ

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า ทิศทางของ สสส. ในอนาคตอีกสิบปีข้างหน้า มาจากระบวนการจัดทำที่มีการทบทวนข้อมูลสำคัญทั้งภายในและภายนอก โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

สิ่งที่เราเรียนรู้ทั้งหมดเพื่อมองไปอีกสิบปีข้างหน้า ในสิ่งที่เราจะเดินต่อ สสส.ยังคงมีเป้าหมาย คือการมีสุขภาพดีทั้ง 4 มิติ ภายใต้ 7 +1 ประเด็นสำคัญที่ สสส.จะขับเคลื่อน บางเรื่องเป็นสิ่งที่ สสส.ทำมาอย่างต่อเนื่อง และมีโจทย์ใหม่ที่เรากำหนดขึ้น นั่นคือ ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ ที่เราทำปลายเปิดเอาไว้เพราะในสิบปีข้างหน้าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย และมีสิ่งที่ไม่คาดฝันอุบัติขึ้น” ดร.สุปรีดาเอ่ยถึงทิศทางของ สสส.

ขณะเดียวกันการทำงานผ่านเป้าหมายใน 7 ประเด็นนี้ สสส. ตระหนักดีว่ายังต้องอยู่บนพื้นฐานการเข้าถึงอย่างเสมอภาคในทุกกลุ่ม ทั้งคนทั่วไปและคนที่ตัวเล็กหรือด้อยโอกาสกว่าเพื่อลดความเหลื่อมด้านสุขภาพ 

โดยในการจะบรรลุถึงเป้าหมายสุขภาพยังต้องมีการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเป็นกลไกหลักที่มีความสำคัญต่อการสร้างผลลัพธ์ตามเป้าหมาย โดย สสส.ให้ความสำคัญกับการสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีมากขึ้น 

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเป็นสิ่งที่ สสส.ไม่เคยละเลย มีสถาบันฝึกอบรม Thai Health Academy และมีกลไกการสนับสนุนรูปแบบใหม่ๆ อาทิการสนับสนุนกองทุนร่วม (co-investment) 

เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะมาทั้งช่วยเหลือและคุกคามสุขภาพคนเรา ในด้านการเป็นตัวช่วย อาทิ การใช้ Digitalization ด้านต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยล่าสุด สสส.ยังเปิดตัว Persona Health รวมถึงการผลิตแอปพลิเคชันสุขภาพที่มีกว่าพันแอปฯ การใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี AI มาช่วยจะทำให้สามารถคัดกรองความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกจุด รวมถึงสำรวจ ทำนายพฤติกรรมสุขภาพคนไทยมากขึ้น

ขณะที่อีกด้าน ดร.สุปรีดาเอ่ยว่า เทคโนโลยีกำลังทำให้เกิดปัญหาหลายเรื่อง นอกเหนือจากเฟคนิว ไซเบอร์บุลลี่ หนึ่งในนั้นที่กำลังเกิดขึ้นคือ การเกิดภาวะสังคมแยกขั้ว (Polarization) ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สร้างความเหลื่อมล้ำสังคม การเกิด Generation Gap มากขึ้นระหว่างคนอายุยืนกับเด็กยุคใหม่ รวมถึงการทำให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่งที่มากขึ้นเรื่อยๆ 

ผมคิดว่าอีกสิบปีข้างหน้า ถ้าเรามองย้อนกลับมาวันนี้ และย้อนกลับไปเมื่อสามสิบปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่า สสส.ทุกคน เชื่อว่าเราได้ร่วมสร้างสังคมที่ดีกว่าเพื่อลูกหลานของเรา นั่นคือการสร้างสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.สุปรีดากล่าวทิ้งท้าย

7+1 เป้าหมาย สสส. กับทศวรรษหน้า 
ทศวรรษที่ 3 \"สสส.\" สานต่อ \"นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน\" เมกะเทรนด์และนวัตกรรมเปลี่ยนโลก 

ภายในงานยังมีการเผยถึงเมกะเทรนด์และนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่มีบทบาทต่อสุขภาพ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งประกอบด้วย 3 เรื่องใหญ่ นั่นคือ

1. สังคมอายุยืน     

จากการศึกษาแนวโน้มตลอดหกทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า คนไทยอายุยืนขึ้น โดยปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนเฉลี่ย 75 ปี และในอนาคตคนไทยมีแนวโน้มอายุยืนขึ้นทุกปี อย่างไรก็ดี แม้จะอายุยืนแต่คนไทยต้องเผชิญปัญหาสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งทำให้คนไทยอยู่ในสภาวะมีชีวิตอายุยืน แต่กลับต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง 9 ใน 10 สาเหตุคือโรค NCDs และอุบัติเหตุ  ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต โดยจะเห็นได้จากแนวโน้มคนออกกำลังกายลดลงต่อเนื่องเมื่ออายุมากขึ้น การรองรับสังคมผู้สูงอายุต้องมีการปรับสภาพสังคมไทยให้เหมาะสมและรองรับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ อาทิ ต้องเปลี่ยนบ้านให้เหมาะสม เป็นต้น 

ขณะเดียวกัน หลังโควิด-19 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะไปได้ยากขึ้น แต่หากมีการฟื้นฟูให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี จะช่วยลดการสูญเสียและจะช่วยให้จีดีพีของประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้
 
2. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ปรากฎการณ์ โลกวิปลาส จากอากาศวิปริตมากมายในช่วงหลายปีหลังที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปีนี้ เป็นผลจากการที่โลกร้อน ปัจจุบันอุณหภูมิโลกสูงแล้วประมาณ 1.2 องศากว่าๆ การป้องกันไม่ให้โลกขึ้นสูงเกิน 2 องศาเป็นเรื่องสำคัญมาก หลายประเทศกำลังพยายามรณรงค์ไม่ให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ถ้ามองไปข้างหน้า 30 ปีจะมีโอกาสท่วมใหญ่มากกว่าที่ผ่านมา และไม่ใช่แค่ชั่วครั้งชั่วคราว จากการประมาณการณ์อาจพบพื้นที่จมน้ำมีอีกเยอะ เป็นโจทย์ใหญ่ที่ไทยต้องรับมือ ไม่ว่าจะเป็นการรปรับผังเมืองให้รับโลกร้อน การศึกษาพบว่าถ้ามีพื้นที่สีเขียวเยอะจะช่วยให้อุณหภูมิสูงขึ้นไม่มากเท่าไหร่  แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่มีสัดส่วนพื้นที่เขียวต่ำ อย่างประเทศไทยมีสัดส่วนเพียง 5% ต่ำว่าเพื่อนบ้านเราอย่างสิงค์โปร์ นอกจากนี้การมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะยังช่วยเรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

3. นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

ข้อจำกัดใหม่ที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ประเทศไทยเราจะมีทรัพยากรการเงินลดลง ตรงข้ามกับหนี้ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีเงินที่จะมาใช้พัฒนาสุขภาพลดลง จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์  หรือ IoT เป็นต้น มาต่อยอดเป็นพื้นฐานการพัฒนาเป็นนวัตกรรมด้านสุขภาพ (Healthtech) ในอนาคตนวัตกรรมด้านสุขภาพและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลและรักษาระบบสุขภาพโดยรวมของคนในโลกมากขึ้น

นอกจากนี้ การพัฒนานวัตกรรมทางสังคม อาทิ Randomized Control Trial (RCT) หรือ Nudging มาใช้ในการประเมินผลทางสังคม ในด้านพฤติกรรมสุขภาพต่างๆ ว่าได้ผลจริงหรือไม่ รวมถึงการใช้ Big Data Analytics เป็นต้น

ทศวรรษที่ 3 \"สสส.\" สานต่อ \"นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน\" ทศวรรษที่ 3 \"สสส.\" สานต่อ \"นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน\" ทศวรรษที่ 3 \"สสส.\" สานต่อ \"นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน\"