7 แสนล้านกู้ได้ เรื่องดีที่น่าสงสัย
วันนี้รัฐบาล กระทรวงการคลังกำลังทำเรื่องปกติให้เป็นที่สงสัย เพราะล่าสุดในที่ประชุม ครม.ได้นำ พ.ร.ก.เงินกู้เพิ่ม 7 แสนล้านบาท เข้าเป็นวาระจร แต่ใช้เวลาไม่นานและไม่ออกมาชี้แจงใดๆ นี่จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากฟังคำตอบเพื่อไม่ให้เงินที่กู้มาถูกละลายหายไป
รัฐบาลและกระทรวงการคลัง กำลังทำเรื่องปกติ ให้เป็นที่สงสัย ที่บอกแบบนี้ ผลพวงมาจากที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก 7 แสนล้านบาทเพื่อรับมือโควิดระลอกใหม่ แบ่งดูแล 3 ด้าน สาธารณสุข-เยียวยา-ฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม ซึ่งถามว่าสมควรใหม่ ต้องบอกว่า “สมควรอย่างยิ่ง” เพราะก่อนหน้านี้ ภาคเอกชน โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนักวิชาการ เคยเสนอให้รัฐบาลกู้เพิ่มอีก 1 ล้านล้านบาท แต่ที่บอกว่า ทำเรื่องปกติ เรื่องสมควร ทำให้เกิดข้อสงสัย เพราะ พ.ร.ก.เงินกู้เพิ่ม 7 แสนล้านบาท เข้าเป็นวาระจร ตรงนี้พอฟังได้ เกี่ยวการเงิน เพื่อไม่ให้รั่วไหล แต่การใช้เวลาประชุมเพียง 5 นาที แถมไม่มีการชี้แจงจากทำเนียบและกระทรวงการคลัง หลัง ครม.อนุมัติ ซึ่งเป็นเรื่อง “น่าสงสัย”
เพราะหากย้อนไปฟังมุมมองภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ เห็นควรกู้เพิ่ม 1 ล้านล้านบาท เพิ่มเติมจากเดิม ที่ เม.ย.2563 รัฐบาลเคยออก พ.ร.ก.กู้เงินแล้ว 1 ล้านล้านบาท เพราะาสถานการณ์รุนแรง เลวร้ายกว่าสมมุติฐานเดิม เพื่อ เพื่อนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า และดำเนินโครงการระยะสั้น และลงทุนโครงการยาวของรัฐบาลในอนาคต ที่สำคัญหนี้สาธารณะของไทยปัจจุบันอยู่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการจะกู้เงินเพิ่ม จึงมีเหตุผลและสามารถ ดำเนินการได้
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ยังเสนอให้กู้ถึง 2.4 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ทั้งการแก้ไขปัญหาระยะสั้นของการแพร่ระบาดของโควิด และรองรับการลงทุนระยะยาวที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันหลังโควิด
ทั้งนี้ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2564 เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้รัฐบาลออกร่าง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 พ.ศ. ... (พ.ร.ก.กู้เงิน) วงเงินไม่เกิน 7 แสนล้านบาท เหตุที่กระทรวงการคลังชี้แจง คือเนื่องจากการระบาดของโควิด ยังคงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องในขณะที่ประเทศยังคงมีความต้องการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประกอบกับข้อจำกัดของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อการเยียวยา ฟื้นฟู และปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมถึงข้อจำกัดของ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับกรอบเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้ไม่เพียงพอ
เราเห็นว่า การกู้เงินเพิ่ม 7แสนล้านบาท เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นฟ้อง ว่าเป็นความจำเป็น ยิ่งหากมีการประเมินกันว่าวันหน้าประเทศไทยมีโอกาส จะเผชิญไวรัสกลายพันธ์ และเศรษฐกิจยังดิ่งต่อเนื่อง ความจำเป็นการมีกระสุนไว้สู้รบย่อมมีความจำเป็นมากขึ้น แต่สิ่งที่ประชาชน อยากทราบคือรายละเอียดในใส่ในเงินกู้ที่แยกเป็น 3 ส่วน ทั้งรองรับการระบาดระลอกใหม่ 3 หมื่นล้านบาท แผนเยียวยา ชดเชย 4 แสนล้านบาทและแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ 2.7 แสนล้านบาท ว่าทั้ง3 ส่วนนี้ จะทำให้เกิดผลตรงเป้าหมายได้อย่างไร เพราะต้องอย่าลทมในเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทเดิมก็มีแผนฟื้นฟู แต่สุดท้ายถูกโยกมาใช้เยียวยา สิ่งเหล่านี้ คือที่ประชาชนอยากฟังคำตอบเพื่อไม่ให้เงินที่กู้มาถูกละลายหายไป