กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2563 -2564

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2563 -2564

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2563 -2564 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง


วันนี้ (27 ม.ค. 65)
เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2563 และ ประจำปีพุทธศักราช 2564 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ในปีพุทธศักราช 2563 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ทั้งสิ้น 44 ราย จาก 18 ประเทศ ผลปรากฏว่ามีผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจาปีพุทธศักราช 2563 สาขาการแพทย์ ได้แก่

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วาเลนติน ฟูสเตอร์ (Valentin Fuster, MD, PhD.) จากสหรัฐอเมริกา และสาขาการสาธารณสุข ได้แก่ นายแพทย์เบอนาร์ด พีคูล (Bernard Pécoul, MD, MPH.) จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในปีพุทธศักราช 2564 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ทั้งสิ้น 86 ราย จาก 35 ประเทศ ผลปรากฏว่ามีผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจาปีพุทธศักราช 2564 สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก (Katalin Karikó, Ph.D.) จากสหรัฐอเมริกา/ฮังการี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน (Drew Weissman, M.D., Ph.D.) จากสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ คัลลิส (Pieter Cullis, Ph.D.) จากแคนาดา

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2563 -2564

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2563 สาขาการแพทย์ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วาเลนติน ฟูสเตอร์ (Valentin Fuster, M.D., Ph.D.) ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ และนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเม้าท์ไซนาย นครนิวยอร์ค จากสหรัฐอเมริกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งชาติ กรุงมาดริด ประเทศสเปน หัวหน้ากองบรรณาธิการ วารสารวิทยาลัยโรคหัวใจแห่งอเมริกา สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วาเลนติน ฟูสเตอร์ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัย บาเซโลน่า ประเทศสเปน และดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ สหราชอาณาจักร
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วาเลนติน ฟูสเตอร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงบทบาท ของเกล็ดเลือดในกระบวนการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงประโยชน์ของการให้ยาต้านเกล็ดเลือด ในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่นำมาใช้เป็นทางเบี่ยงภายหลังจากการผ่าตัดทาทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยเริ่มในสัตว์ทดลอง และต่อมาได้ต่อยอด มาเป็นการศึกษาวิจัยในผู้ป่วย ได้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกถึงประโยชน์ของการให้ยาต้านเกล็ดเลือดในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่นำมาใช้เป็นทางเบี่ยงภายหลังจากการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วย

อีกทั้งองค์ความรู้ที่ได้นี้ มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดในการสร้างขดลวด ค้ำยันชนิดเคลือบยา เพื่อนามาใช้ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ฟูสเตอร์ ได้ช่วยทาให้อัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในผู้ป่วยลดลงอย่างมาก และยังช่วยปรับปรุงให้การดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2563 -2564

จากผลงานของศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วาเลนติน ฟูสเตอร์ ที่เชื่อมโยงนำองค์ความรู้ที่ได้ จากงานวิจัยพื้นฐานไปต่อยอดจนกระทั่งเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ของการให้ยาต้านเกล็ดเลือดในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่นำมาใช้เป็นทางเบี่ยง หลอดเลือดที่ตีบตันภายหลังจากการผ่าตัด ผลงานนี้ได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนับล้านคนทั่วโลก

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2563 สาขาการสาธารณสุข นายแพทยเ์บอนาร์ด พีคูล (Bernard Pécoul, M.D., MPH.)
ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร องค์กรจัดหายาสำหรับโรคที่ถูกละเลย (Drugs for Neglected Diseases initiative, DNDi) สาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายแพทย์เบอนาร์ด พีคูล สาเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคลมองท์-เฟอร่องด์ (Clermont-Ferrand University) สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ นายแพทย์พีคูล จะเข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งองค์กรจัดหายาสาหรับโรคที่ถูกละเลย (Drugs for
Neglected Diseases initiative, DNDi) นั้น

นายแพทย์พีคูล เป็นผู้อานวยการบริหารในองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières) ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ก่อตั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงยาจำเป็นของกลุ่มประเทศในแอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเซีย

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2563 -2564

 

ในขณะที่ทางานในประเทศยูกันดา นายแพทย์พีคูล พบมีการใช้ยา เมลาโซพรอล (Melarsoprol) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสารหนู ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส (African trypanosomiasis) หรือโรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) และพบผู้ป่วย 1 ราย ใน 20 รายที่ได้รับอนุพันธ์นี้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ ที่มีการขาดยารักษาที่มีประสิทธิภาพและมีผลข้างเคียงที่รุนแรงนี้ ทำให้นายแพทย์พีคูล ตัดสินใจจัดทาโครงการจัดหายา สาหรับโรคที่ถูกละเลย (Drugs for Neglected Diseases initiative - DNDi) ขึ้นในปี พ.ศ.2546 โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาการรักษาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ราคาไม่แพง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ถูกละเลย


ภายใต้การบริหารของ นายแพทย์พีคูล โครงการจัดหายาสาหรับโรคที่ถูกละเลย ได้ขยายเป็นองค์กรวิจัย และพัฒนาที่ไม่แสวงหาผลกำไร สร้างความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนหลากหลายองค์กร อาทิ มูลนิธิบิลเกตส์ เวลคัม ทรัส หน่วยงานในยุโรปและบริษัทยาหลายแห่ง จนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดวิธีการรักษา ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ถูกละเลย รวม 8 ชนิด รักษาโรคมาลาเรีย โรคเหงาหลับ โรค Visceral leishmaniasis และโรค Chagas disease

ยาเหล่านี้ถูกบรรจุให้เป็นแนวทางในการรักษาโรคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เป็นยารักษาตัวแรกสำหรับ โรคที่ถูกละเลย (Neglected tropical diseases) ในหลายประเทศ ขณะนี้มีการพัฒนาสารใหม่มากกว่า 20 ชนิด และมีการศึกษาทดลองทางคลินิกมากกว่า 20 การศึกษา


ในฐานะผู้อำนวยการ นายแพทย์พีคูล ได้ประสานงานวิจัยและร่วมมือพัฒนา ริเริ่มและบริหารจัดโครงการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยทีมงานและนักวิทยาศาสตร์ที่ดาเนินโครงการในส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งมอบการรักษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพจานวน 16 รายการ จาก 18 รายการ สำหรับโรคที่ถูกละเลยให้แก่ผู้ป่วย ภายในปี พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน DNDi ได้ส่งมอบยาใหม่ถึง 8 ชนิด ซึ่งช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยเป็นจานวนมาก


ผลงานของนายแพทย์เบอนาร์ด พีคูล ได้มีส่วนสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิต ให้กับประชากรนับล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรในประเทศกลุ่มกำลังพัฒนาหรือประเทศที่มีรายได้น้อย ที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ถูกละเลย


ส่วน ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีพุทธศักราช 2564 สาขาการแพทย์
ศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก (Katalin Karikó, Ph.D.)
รองประธานอาวุโส บริษัทไบโอเอ็นเทค อาร์เอนเอ ฟาร์มาซูติคอล สหพันธรัฐเยอรมนี
รองศาสตราจารย์สมทบ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา / ฮังการี
และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน (Drew Weissman, M.D., Ph.D.) ผู้อำนวยการแผนกวิจัยวัคซีนโรคติดเชื้อ และศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นฝึกอบรม ณ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา กับนายแพทย์ แอนโทนี ฟอซี (Dr. Anthony Fauci) ผู้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจาปี 2556 สาขาการแพทย์ ประเทศฮังการี


ศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก สำเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเซเก็ด ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน สาเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบอสตัน


ศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยวิธีการนำเมสเซนเจอร์ อาร์เอนเอ มาใช้ในทางการแพทย์ โดยในปี พ.ศ.2549 ได้ร่วมกันค้นพบว่า การใช้นิวคลิโอไซด์ดัดแปลงช่วยลดปฏิกิริยาของเซลล์ต่ออาร์เอนเอแปลกปลอมได้ ซึ่งเป็นก้าวสาคัญในการนำเมสเซน
เจอร์อาร์เอนเอมาใช้ประโยชน์

ทั้งนี้เนื่องจากตามธรรมชาติแล้ว เมสเซนเจอร์อาร์เอนเอแปลกปลอมที่ให้เข้าไปจาก ภายนอกเซลล์จะถูกกลไกต่อต้านไวรัสของเซลล์ตรวจจับ และเมื่อพบอาร์เอนเอแปลกปลอมก็จะกระตุ้นกลไกต่างๆ ที่จะยับยั้งการแปลรหัสจากอาร์เอนเอและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งกลไกเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญในการนา เมสเซนเจอร์อาร์เอนเอมาใช้ฉีดเข้าในร่างกายเพื่อการป้องกันหรือรักษาโรค การค้นพบดังกล่าวรวมทั้งการศึกษาวิจัยต่อๆ มาของศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน ที่ทำให้มีการนาซูโดยูริดีน มาใช้ในการสร้างเมสเซนเจอร์อาร์เอนเอ และการคิดค้นวิธีการในการทำเมสเซนเจอร์อาร์เอนเอที่มีซูโดยูริดีนให้บริสุทธิ์ เป็นรากฐานสาคัญในการนาเทคโนโลยีเมสเซนเจอร์อาร์เอนเอมาใช้ในการพัฒนาวัคซีนต่อต้านโควิด -19


ศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน ยังเป็นผู้มีบทบาทสาคัญ ในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างรวดเร็ว


ผลงานของศาสตราจารย์ ดร.กอตอลิน กอริโก และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ดรู ไวส์แมน ทำให้เกิดวัคซีนโควิด-19 ชนิดเมสเซนเจอร์อาร์เอนเอ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วตอบสนองกับ การระบาด ทำให้สามารถลดการติดเชื้อและการเจ็บป่วยรุนแรง อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมการระบาด ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย และชีวิตผู้ป่วยหลายร้อยล้านคนทั่วโลก

ศาสตราจารย์ดร.ปีเตอร์คลัลิส(PieterCullis,Ph.D.) ศาสตราจารย์ภาควิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยบริทิชโคลัมเบีย, แวนคูเวอร์ แคนาดา

ศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ คัลลิส สาเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยบริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา และทางานวิจัยด้านชีวเคมีของไขมันที่ มหาวิทยาลัยนี้ตลอดมาจนปัจจุบัน


ศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ คัลลิส เป็นผู้บุกเบิกงานด้านอนุภาคไขมัน ลิปิดนาโนพาร์ติเคิล ซึ่งมีการใช้ในทาง การแพทย์ในลักษณะต่างๆ เช่นการนำส่งยาต้านมะเร็งไปยังเนื้อเยื่อมะเร็งโดยไม่ทำให้เกิดพิษต่อเนื้อเยื่อปกติ และอนุภาคไขมันที่ศาตราจารย์ ดร.คัลลิสพัฒนาที่น่าสนใจมากที่สุดได้แก่ อนุภาคไขมันที่มีไขมันที่สามารถทำให้มีประจุบวก ได้ โดยไขมันดังกล่าวไม่มีประจุเมื่ออยู่ในสภาพความเป็นกรดด่างที่เป็นกลาง แต่จะมีประจุบวกเมื่ออยู่ในสภาพเป็นกรด อนุภาคไขมันเหล่านี้ไม่ทาปฏิกิริยาและไม่เป็นพิษต่อเซลล์เนื่องจากไม่มีประจุ แต่เมื่อถูกนาเข้าสู่เซลล์ภายในเอนโดโซม
ซึ่งมีสภาพเป็นกรดก็จะเปลี่ยนเป็นมีประจุบวก ซึ่งจะทำให้หลอมเชื่อมกับเยื่อไขมันของเซลล์ที่มีประจุลบ การหลอมเชื่อม ของเยื่อไขมันดังกล่าวทาให้มีการนำส่งส่วนประกอบภายในของอนุภาคไขมันเช้าสู่ไซโตปลาสซึมของเซลล์ วิธีการดังกล่าวได้มีการนามาใช้ในการพัฒนาวัคซีนชนิดเมสเซนเจอร์อาร์เอนเอ ซึ่งกาลังใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 อยู่ในปัจจุบัน


ผลงานของศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ คัลลิส นอกจากจะทำให้มีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ได้สาเร็จแล้ว ยังทำให้มีวิธีการที่จะนำกรดนิวคลิอิกเข้าสู่เซลล์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเปิดความเป็นไปได้อีกมากมาย ในการนำเทคโนโลยีกรดนิวคลิอิกมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ในอนาคต ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย และชีวิตของมนุษย์หลายร้อยล้านคนทั่วโลก


รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งข้ึนเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์ แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในโอกาสจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปีแห่งการพระราชสมภพ 1 มกราคม 2535 ดำเนินงานโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มอบรางวัลให้แก่บุคคลหรือองค์กรท่ัวโลก ที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ทางด้านการแพทย์ 1 รางวัล และด้านการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจาทุกปี ตลอดมา แต่ละรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล, ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 100,000 เหรียญสหรัฐ โดยระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา มีบุคคลหรือองค์กรได้รับรางวัลแล้วทั้งสิ้น 90 ราย