ผ่าแผนรับมือ ‘โควิด’ ภารกิจเซฟโซน กทม.

ผ่าแผนรับมือ ‘โควิด’ ภารกิจเซฟโซน กทม.

แรงกดดันส่งไปถึง "รัฐ-ประชาชน" หากการ์ดตกเมื่อไหร่ เชื้อไวรัสโควิด พร้อมกลับมาระบาดในประเทศได้ทุกเมื่อ

จากคำสั่งที่ พล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด "ยกระดับ" มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด กรณีมีผู้ลักลอบเข้าประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ จนล่าสุดพบผู้ติดเชื้อแล้วนับสิบราย จากข้อมูลที่ยืนยันโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ศบค."

เป็นที่มาจากคำสั่งตรงไปที่หน่วยงาน กทม.ทั้งหมดเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสถานประกอบกิจการที่ได้รับการผ่อนปรนตั้งแต่เดือน ..2563 โดยเฉพาะสถานที่ที่เคยเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักที่ผ่านมา เน้นไปที่พื้นที่เสี่ยง "สถานบันเทิง-สนามมวย"

จากคำสั่งของ กทม.ครั้งนี้ เป็นมาตรการเดียวกับที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย(ศบค.มท.) มีคำสั่ง "ด่วนที่สุด" ที่ มท. 0230/ 7300 จาก "ฉัตรชัย พรหมเลิศ" ปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ กำหนด พื้นที่ "เซฟโซน" และความรับผิดชอบเป็น 3 ระดับเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ประกอบด้วย 1.ในพื้นที่ชายแดน 2.ในพื้นที่ตอนใน และ 3.ในพื้นที่หมู่บ้านและชุมชน

160750836513

โดยเฉพาะ "ในพื้นที่ตอนใน" ถือเป็นจุดเสี่ยงต้องประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ศุลกากร ปูพรมตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และจุดคัดกรองโรคในกลุ่มบุคคล และการขนส่งสินค้าที่เดินทางจากประเทศเพื่อนบ้าน ตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองทางช่องทางธรรมชาติ โดยไม่ผ่านการคัดกรอง

จากคำสั่งกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว เป็นที่มาหนึ่งในคำสั่งด่วนจาก "ผู้ว่าฯอัศวิน" สั่งหน่วยงานเข้มงวดและเฝ้าระวัง "บุคคลลักลอบเข้าเมือง" โดยผิดกฎหมาย ซึ่งไม่ผ่านการตรวจคัดกรองก่อนเข้าประเทศ เน้นไปที่ "จุดเสี่ยง" ที่มาจากโรงแรม 1G1 ท่าขี้เหล็กประเทศเมียนมาร์ เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการสถานบริการต้องตรวจสอบ พนักงานว่าได้เดินทางไปพื้นที่ "ท่าขี้เหล็ก" หรือไม่

ระหว่างนี้ กทม.ยังเดินหน้ารณรงค์กฎเหล็ก "ระยะห่างทางสังคม" หรือ Social Distancing ให้เป็นหนึ่งในมาตรการขอความร่วมมือประชาชน ใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิตประจำวัน พร้อมกับการใช้งานแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" เพื่อติดตามตัวผู้เข้าข่ายกรณีพบผู้ป่วยในสถานที่เสี่ยง ในช่วงที่โควิดยังแพร่ระบาดยังไม่นิ่ง หรือกลับมาสู่การระบาดระลอกใหญ่เช่นเดียวกับในช่วงเดือน มี..

160750844293

เมื่อไปตรวจสอบ "แผนฉุกเฉิน" จากหน่วย กทม.ที่เตรียมความพร้อมหากพื้นที่กรุงเทพฯ กลับไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีกครั้งกทม.ได้แบ่งความรับผิดชอบหน่วยงานใต้สังกัดไว้ทั้งหมด ตั้งแต่แผนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน หากสถานการณ์แพร่เชื้อบานปลาย จะใช้ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กทม.(ศูนย์เอราวัณ) เป็นศูนย์กลางประสานการรับและส่งผู้ป่วยของโรงพยาบาลในสังกัด กทม.

ระหว่างนี้ "สำนักการแพทย์" จะประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมมือกับโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ สถาบันกลุ่มโรงพยาบาลแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลของ 4 เหล่าทัพ และสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อ "สำรองเตียง" ห้องความดันลบ ห้องแยกโรค เวชภัณฑ์ ไปถึงการเตรียมชุดป้องกันการติดเชื้อ

สำหรับโรงพยาบาลใน กทม.ที่จัดเตรียมไว้มี 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.โรงพยาบาลกลาง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 2.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เขตบางคอแหลม 3.โรงพยาบาลตากสิน เขตคลองสาน และ 4.โรงพยาบาลสิรินธร เขตประเวศ หรือ "แผนสำรอง" หากมีความจำเป็น กทม.จะใช้ศูนย์ฟื้นฟูกลางน้ำ โรงพยาบาลบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งสถานที่รักษา

160750847567

ไม่ใช่แค่นั้นแต่ที่ผ่านมา "สำนักอนามัย" ได้กำชับแนวทางคัดกรองโรค การเข้าเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง จัดเตรียมเวชภัณฑ์ โดยเน้นฝึกซ้อมแผนรับมือกรณีพบผู้ป่วย "โควิด" จะประสานกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักการแพทย์ เพื่อส่งต่อผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลสังกัด พร้อมกับใช้บทเรียน "อู่ฮั่นโมเดล" จัดทำแผนป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรค

160750862966

เพราะตลอดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดภายในเมือง "อู่ฮั่น" จนมาถึงในช่วงการระบาดเริ่มคลี่คลาย ทำให้หลายประเทศใช้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ซึ่ง "สำนักอนามัย" กทม.ถอดบทเรียน "อู่ฮั่นโมเดล" นำมาจัดทำแผนป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกรุงเทพฯ จาก 9 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย

1.ห้ามโยกย้ายประชากร 2.ห้ามรวมกลุ่มจัดกิจกรรม 3.หาผู้ป่วยและแยกออกมาให้เร็วที่สุด 4.ห้ามผู้ป่วยออกมาพื้นที่สาธารณะ5.กำหนดความเสี่ยงของบุคคล 6.ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง 7.เพิ่มสถานที่รองรับผู้ป่วย 8.สนับสนุนปัจจัยสี่และหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะผู้ป่วย และ 9.กำหนดระยะห่างระหว่างบุคคลให้เลยพ้นระยะทางส่งต่อเชื้อโรค

เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากการติดเชื้อโควิดจาก "กลุ่มเสี่ยง" ที่ทำงานในสถานบันเทิงในท่าขี้เหล็กลักลอบข้ามพรมแดนไทย-เมียนมา.เชียงราย จนป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งเป็นช่วงเดียวที่การระบาดในหลายประเทศยังอยู่ในภาวะวิกฤติ ส่งแรงกดดันไปถึง"รัฐ-ประชาชน" หากการ์ดตกเมื่อไหร่ เชื้อไวรัสพร้อมกลับมาระบาดในประเทศได้ทุกเมื่อ.

160750866216