สภาฯผ่านวาระแรก "พ.ร.บ.อุ้มหาย" ตั้ง25กมธ."อังคณา-แกนนำม็อบ3นิ้ว" ร่วมทีม
มติที่ประชุมสภาฯ รับหลักการวาระแรก "พ.ร.บ.อุ้มหาย" ตั้ง25กมธ.ถกวาระ2 "อังคณา-แกนนำม็อบ3นิ้ว" ร่วมทีม ส่องโทษหนัก"ปรับ-จำคุก"
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระพิจารณาวาระรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …หรือกฎหมายอุ้มหาย
ทั้งนี้ที่ประชุม คือ เห็นชอบ 363 เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียงรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว
ทั้งที่ที่ประชุมได้มีการเสนอชื่อกรรมาธิการในสัดส่วนพรรคต่างๆ25คน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้เสนอกมธ.จำนวน 6 คนซึ่งล้านเป็นแกนนำม็อบ3นิ้ว ทั้งนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบก.ลายจุด แกนนำกลุ่มคาร์ม็อบ ,นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย
ขณะที่พรรคเสรีรวมไทย ได้เสนอนางอังคณา นีละไพจิตร นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนรวมเป็นกมธ.
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับร่างที่สภาฯ "รับหลักการ"วาระแรกประกอบด้วย 1.ร่างของคณะรัฐมนตรี 2.ร่างของนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 3.ร่างของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ (ปช.) และ4.ร่างของนายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เมื่อช่วงค่ำวานนี้(15 ก.ย.) ที่ผ่านมา
โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปจะใช้ร่างของรัฐบาลพิจารณาในวาระ2ต่อไป
สำหรับเนื้อหาสำคัญ คือ มุ่งเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำความผิดฐานทรมาน ในฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยกำหนดการกระทำที่เข้าข่ายความผิดไว้ ว่า เป็นการกระทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ และต้องมีวัตถุประสงค์อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือ คำรับสารภาพจากบุคคลที่ถูกทรมาน และมีการกำหนดอัตราโทษ
สำหรับความผิดฐานกระทำการทรมานและฐานกระทำให้บุคคลสูญหายไว้เท่ากัน คือ
- ผู้ทำผิดฐานกระทำการทรมาน หรือ ความผิดฐานทำให้บุคคลสูญหาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-15 ปี และปรับตั้งแต่ 1-3 แสนบาท
- หากผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัส จะต้องรับโทษหนักขึ้นจำคุกตั้งแต่ 10-25 ปี และปรับตั้งแต่ 2-5 แสนบาท
- หากกระทำความผิดเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายต้องวางโทษจำคุกตั้งแต่ 15 -30 ปีหรือ จำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ 3 แสนบาท-1ล้านบาท
-และหากผู้ถูกกระทำเป็นบุคคลที่อายุไม่เกิน 18 ปี หญิงมีครรภ์ ผู้พิการทางร่างกายหรือจิตใจ หรือผู้ที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โทษก็จะหนักขึ้น