ส่องเทรนด์ 'เทคโนฯ เด่น' ติดสปีดธุรกิจ 'โลจิสติกส์'
ขนส่งและโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด วันนี้จึงได้เห็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงโมบายแอพพลิเคชั่นแบบเรียลไทม์ มาช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ทั้งนี้ เช่น เส้นทาง จุดส่งสินค้า เงื่อนไขพิเศษต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุดและควบคุมค่าใช้จ่ายภายในธุรกิจ การเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้ในกระบวนการธุรกิจจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและการคาดการณ์อนาคต เพื่อปรับเปลี่ยนการจัดการออเดอร์และซัพพลายเชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.การรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัท(Consolidation of goods) เป็นการรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัทในการบรรทุกจัดส่งไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน
เธอกล่าวว่า ปัจจัยหลักคือขนาดของตลาดขนส่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับขนาดของการบรรทุกจัดส่ง เมื่อทุกสิ่งสามารถสั่งซื้อได้แบบออนไลน์ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนสินค้าที่จะถูกจัดส่งจำนวนมาก ขนาดของการโหลดบรรทุกการจัดส่งของบริษัทจึงเล็กลงเพื่อส่งออกสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น
ดึง ’เอไอ’ เพิ่มขีดความสามารถ
อีกเทรนด์ที่น่าสนใจ 4.ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial and Augmented Intelligence AI) โดยขณะนี้กำลังจะมาแทนที่งานบางส่วนของมนุษย์ที่ต้องทำซ้ำๆ ซึ่งทำให้งานที่ออกมาเป็นระเบียบและวัดผลได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีงานบางประเภทที่จำเป็นต้องใช้ทักษะของมนุษย์ จึงเกิดเทรนด์ใหม่ที่เรียกว่า “Augmented Intelligence” หรือ “ปัญญาเสริม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า “มนุษย์” กับ “เอไอ” สามารถทำงานร่วมกันได้
โดยการเลียนแบบความฉลาดของมนุษย์และขยายขีดความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ลงในซอฟต์แวร์ เช่น หน่วยความจำการจัดลำดับ การรับรู้ การคาดการณ์ การแก้ปัญหา ไปจนถึงการตัดสินใจ เพื่อให้สามารถเข้าใจความต้องการของมนุษย์ได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน
กรณีตัวอย่างเช่น การวางแผนงานโลจิสติกส์สามารถใส่ข้อมูลที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง เช่น แผนงาน ความรับผิดชอบของส่วนงานการบริการลูกค้า ความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้สึกหรือสามัญสำนึก และอื่นๆ ผสานเข้ากับการวิเคราะห์ประเมินผลโดยเอไอ ที่สามารถทำนายและทำความเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการตัดสินใจจากการเรียนรู้ข้อมูลในอดีต อะไรจะเกิดขึ้นหากเลือกเดินในแต่ละเส้นทาง ทำให้มีวิธีรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นได้
สุดท้าย 5.เทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว(Data Standardization and Predictive analytics Platform) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ในโลกดิจิทัล ขณะเดียวกันสามารถเห็นรูปแบบของความเสี่ยง รวมถึงโอกาสที่อาจเกิดขึ้นด้วยข้อมูลที่มีในระบบ เมื่อใส่เงื่อนไขเฉพาะลงไปทำให้ได้ข้อมูลพยากรณ์ล่วงหน้า เช่น อุบัติเหตุ การใช้น้ำมัน การซ่อมบำรุงรถ การใช้จ่าย เส้นทางขนส่งและจุดจอดรถที่เหมาะสม
“สิ่งที่ธุรกิจโลจิสติกส์ควรทำคือ การศึกษากระบวนการทำงานของโซลูชั่นแพลตฟอร์มและนำมาใช้กับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการงานขนส่ง การใช้เชื้อเพลิง รวมถึงเพิ่มสมรรถนะการใช้รถขนส่งได้มากขึ้น”