มีแค่ไอเดีย (อาจ) ไม่พอ วันนี้สตาร์ตอัปไทยต้องมองหา 'ESG'

มีแค่ไอเดีย (อาจ) ไม่พอ วันนี้สตาร์ตอัปไทยต้องมองหา 'ESG'

เปิดแนวคิดสำคัญที่ AIS The StartUp ผลักดันด้าน ESG แก่สตาร์ตอัปไทย สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน เสริมฐานรากให้แกร่งโตไกลในตลาดทุน

ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS The StartUp กล่าวว่า อินฟราสตรัคเจอร์ที่แข็งแกร่ง การมีบิสซิเนส พาร์ทเนอร์ชิพ ทั้งลูกค้าทั่วไปและคอร์ปอเรท ขยายไปสู่ SME รวมถึง สตาร์ตอัปที่มั่นคงและช่วยคิดค้นนวัตกรรมนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจกับผู้บริโภคได้คือเป้าหมายสำคัญของบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เพื่อช่วยขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วยดิจิทัลที่เป็นเลิศ ทั้งหมดนี้คือวิสัยทัศน์ของ AIS ที่พร้อมจะก้าวสู่องค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะในทุกมิติ

ในด้านของสตาร์ตอัป AIS เชื่อว่าหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เติบโตได้อย่างยั่งยืนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินทุนเท่านั้น แต่ทักษะ องค์ความรู้ เครื่องมือด้านดิจิทัล โซลูชัน หรือแม้การเข้าถึงตลาดและฐานลูกค้า ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

ดังนั้น การเติบโตแบบร่วมกันหรือ Partnership for Inclusive Growth จึงเป็นแนวทางการทำงานของ AIS The StartUp ที่ยืดถือมาโดยตลอด เพราะแนวทางดังกล่าวจะสามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการมีรากฐานในการดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ด้าน Environmental Social และ Governance หรือ ESG ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

มีแค่ไอเดีย (อาจ) ไม่พอ วันนี้สตาร์ตอัปไทยต้องมองหา \'ESG\'

ทำไมสตาร์ตอัปต้องสนใจ ESG 

ศรีหทัย อธิบายว่า จากคำถามที่ว่าทำไมสตาร์ตอัปต้องมาทำ ESG ซึ่ง พอเราได้รับคำถามนี้ที่ AIS เราเปลี่ยนคำถามว่าถ้าหากสตาร์ตอัปไม่ทำ ESG จะเกิดผลเสียอะไรบ้างทั้งในมุมมองของธุรกิจเขาเองและในมุมมองของพาร์ทเนอร์

นักลงทุนในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มองอะไรที่แตกต่างกัน และสิ่งที่สตาร์ตอัปอาจยังไม่รู้คือ เหล่านักลงทุนไม่ได้สนใจเรื่องการแยกขยะหรือมองเรื่อง ESG เป็นเรื่องเพื่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือเรื่องการบริหารความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล

สิ่งเหล่านี้คือฐานความคิดหลักที่ AIS ต้องการปูพื้นให้กับเหล่าสตาร์ตอัปได้รู้ว่าการมองมิติที่หลากหลาย จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ยั่งยืนอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงต้องปรับฐานความเข้าใจของสตาร์ตอัปกันใหม่ ให้เริ่มจากการสร้างบริษัทที่มีพื้นฐานที่ดีไม่ใช่เป็นบริษัทที่สร้างเพียงสินค้าที่ดีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเมื่อเป็นบริษัทที่ดีแล้วก็พร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์ชิพที่ดีต่อไป

"AIS The StartUp จะช่วยวางกลยุทธ์ด้าน ESG ที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยง เตรียมความพร้อม และเปิดประตูโอกาสการเข้าสู่ตลาดทุนและขยายขนาดการเติบโตขององค์กร (Scale up) ได้ต่อไป" เธอ กล่าว

มีแค่ไอเดีย (อาจ) ไม่พอ วันนี้สตาร์ตอัปไทยต้องมองหา \'ESG\'

การสื่อสาร=ความท้าทาย

ศรีหทัย กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมของสตาร์ตอัปจะมี 3 ขั้นหลักๆ ได้แก่ 1.มองหาเงินทุนและการระดมทุน 2.มองหาโอกาสทางธุรกิจ และ3.เป็นสิ่งที่สำคัญมากคือการมองให้ออกว่าเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง การแปลไอเดียให้ออกเป็นโปรดักส์ นำไปสู่การหารายได้และสร้างความอยู่รอด เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาในเรื่อง ESG คือ ผู้ก่อตั้ง (Founder) จะต้องเริ่มวางสตรัคเจอร์โครงสร้างองค์กรเพื่อให้ธุรกิจยั่งยืนและสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ความท้าทายที่จะตามมาในรูปแบบบนหลัก ESG คือ เหล่า Founder จะเริ่มมองการบริหารงานบริบท ESG ให้ลึกและรอบด้านมากขึ้น สิ่งสำคัญก็คือเหล่า Founder จะต้องปรับตัวเองสู่การเป็น Leader และต้องสื่อสารและการพูดกับพนักงานในองค์กรออกมาให้สามารถมองเห็นความสำคัญของ ESG

เธอ เสริมว่า แน่นอนว่าการเป็นเจ้าของธุรกิจกับการเป็นลูกจ้างความรักในองค์กรและต้องการให้องค์กรสามารถอยู่รอดเติบโตได้นั้นมีความแตกต่างกันมีการให้น้ำหนักซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงความท้าทายขั้นต่อไปหลังจากสตาร์ตอัปมองเห็นแล้วคือการทำให้พนักงานในองค์กรให้มองและสามารถบรรลุในวัตถุประสงค์เป้าหมายเดียวกัน

มีแค่ไอเดีย (อาจ) ไม่พอ วันนี้สตาร์ตอัปไทยต้องมองหา \'ESG\' จุดเริ่มต้นสร้าง-เสริม-ต่อยอด

AIS The StartUp มีเป้าหมายการเป็นพาร์ทเนอร์ที่พร้อมผลักดันและสนับสนุนการทำงานของผู้ประกอบการสตาร์ตอัปและ Tech SMEs ไทย ในปีนี้ AIS The StartUp ได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในวงการ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup Association) ในการ “สร้าง เสริม และต่อยอด” ด้าน ESG ภายใต้โครงการ ESG to Capital for Tech Entrepreneurs ตลอด 3 เดือนเต็ม

อาทิ คุณอนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งทำงานด้านวิชาการการพัฒนาหลักสูตร การให้คำปรึกษางานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ที่มาช่วยแบ่งปันและแนะนำถึงแนวคิดในการนำ ESG เข้าไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ พร้อมทั้งยังให้มุมมองการทำงานเพื่อรับมือกับการปรับตัวของธุรกิจ โดยเนื้อหาจะเน้นให้เห็นองค์ประกอบที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นในการวาง ESG Strategy สำหรับผู้ประกอบการ และ Tech Startup 

มีแค่ไอเดีย (อาจ) ไม่พอ วันนี้สตาร์ตอัปไทยต้องมองหา \'ESG\' นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรจากองค์กรชั้นนำที่จะมาให้เครื่องมือเพื่อใช้ในการการดำเนินงานภายใน การวัดผล รวมถึงการทำ Global Report Initiative (GRI) รวมถึง Business model เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการนำหลักการ ESG มาขยายผล ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาแนะวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้าตลาด, CEO เก็บสะอาด, Muvmi, Asian Development Bank, ผอ. NIA และ CEO of Pacific Pipe

เพื่อช่วยเสริมทักษะแกร่งให้กับผู้ประกอบการสตาร์ตอัปมีความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หลักการด้าน ESG เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนและการประเมินมูลค่าบริษัท โดยเฉพาะการวางรากฐานหลักธรรมาภิบาลในมิติต่างๆ เช่น ธรรมาภิบาลองค์กร (Corporate Governance), ธรรมาภิบาลการสร้างพันธมิตร (Partnership Governance), ธรรมาภิบาลทางการเงิน (Financial Governance), หรือ การกำกับดูแลผู้ถือหุ้น (Shareholder Governance)

ศรีหทัย มองว่า เพราะปัจจุบันโลกธุรกิจให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามกรอบแนวคิดทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมสังคม และหลักธรรมาภิบาล หรือ ESG จึงเป็นเหตุผลที่ชวนพาร์ทเนอร์ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมกันแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์จริงด้าน ESG

“โครงการจัดเต็มความรู้ในมุมมองภาพใหญ่ในเชิงนโยบายของภาครัฐด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับทิศทางการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสตาร์ตอัปและการเติบโตขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ หรือแม้แต่เชื่อมต่อกับองค์กรชั้นนำเพื่อมาแบ่งปันและร่วมสะท้อนปัญหาและความสำคัญในการนำ ESG เข้าไปเป็นหนึ่งในกระบวนการทำงานของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ”