ถอดบทเรียนอรรถนพ พันธุกำเหนิดฝ่าคลื่นพายุวิกฤติพลิกโมเดลธุรกิจตามเทรนด์

ถอดบทเรียนอรรถนพ พันธุกำเหนิดฝ่าคลื่นพายุวิกฤติพลิกโมเดลธุรกิจตามเทรนด์

ถอดบทเรียนจาก “อรรถนพ พันธุกำเหนิด” นายหัวซิซซา กรุ๊ป พบหลากกลเม็ดเคล็ดลับพลิกวิกฤติให้เป็น “โอกาส” ด้วยหลักคิดและแนวทางปฏิบัติอย่างไร ที่ทำให้ธุรกิจก้าวมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ตั้งแต่ สึนามิ วิกฤติเงินรูเบิลรัสเซีย โควิด-19 ทำธุรกิจยังไงถึงไม่เจ๊ง!

อรรถนพ พันธุกำเหนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในภาคใต้ เล่าว่า กว่าที่ถึงวันนี้ได้ผ่าน Perfect Strom หลากหลายรูปแบบ หลังจากที่ตัดสินใจเลิกเป็นลูกจ้างก้าวมาทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้บริษัท อรรณพเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เนื่องจากมีพื้นฐานมาจากการเป็นวิศวกรโยธา จากม.สงขลานครินทร์ และมีประสบการณ์การทำงานในบริษัทที่ปรีกษาให้กับเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ทางด้านโรงแรมมาก่อน จึงมองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ จากดีมานด์คนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาพักผ่อนและซื้อบ้านหลังที่สอง ในจ.ภูเก็ต

กระทั่งเผชิญกับคลื่นยักษ์ สึนามิ ถล่มชายฝั่งประเทศไทย จนแทบเอาชีวิตไม่รอด !ในระหว่างรับงานก่อสร้างสระน้ำหน้าโรงแรม ทำให้ต้องสูญเสียลูกน้อง เพื่อนร่วมงานหลายคน จึงกลับมาพักที่บ้านใน จ.นครศรีธรรมราช 4-5 เดือน จากนั้นเริ่มกลับมาทำธุรกิจที่ภูเก็ตอีกครั้ง ด้วยการขายอิฐมอญ ให้เช่านั่งร้านได้ไม่ถึงปีก็กลับมาทำรับเหมาก่อสร้างอีกครั้ง
 

เริ่มต้นจากการรับเหมาก่อสร้างงานโรงแรม โครงการบ้านต่างๆ จากนั้นเริ่มซื้อที่ดินมาพัฒนาบ้านเพื่อขายที่ละหลังแล้วขยับขึ้นมา 2 หลัง3 หลัง4หลังหลังจนกระทั้งกลายเป็นโครงการบ้านเพื่อขายให้กลุ่มคนต่างชาติที่มีสิทธิ์ในการซื้อได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ขายดีมากจนกระทั้งเกิดวิกฤต Ruble Crisis ทำให้ค่าเงินรัสเซียหายไป 70% เพราะราคาน้ำมันร่วงจาก 100 เหรียญมาจนถึงจุดต่ำสุดที่ 30 เหรียญ ส่งผลให้ลูกค้ารัสเซีย ทิ้งมัดจำที่จองซื้อบ้านไว้เป็นจำนวนมากจากราคาบ้าน6-7ล้านบาทเพิ่มขึ้น12-13ล้านบาท

"หลังจากที่เรียนรู้ว่าการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน จึงพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ดึงคนมาซื้อระยะยาว เพื่อไม่ให้ปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบมากโดยเฉพาะ คนซื้อเพื่อลงทุน เพราะเป็นการลงทุนที่ให้ผลการตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก พันธบัตร แต่มีข้อเสียคือสภาพคล่องเวลาที่จะขายอาจช้าสำหรับอสังหาฯ แต่ถ้าเป็นInvestment Property จะมีรายได้ตลอด"

จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรือ Investment Property (IP) ในเวลาต่อมา ภายใต้แบรนด์ ซิซซา กรุ๊ป จนกระทั่งเกิดโควิด-19 วิกฤติที่หนักที่สุดที่เคยเจอ บริษัทได้รับผลกระทบไม่แตกต่างจากบริษัทอื่นขาดทุนหลาย 100 ล้านบาท โดยในช่วงที่ผ่านมาพยายามประคองธุรกิจ ให้อยู่รอด ด้วยการกู้ยืมเงินเข้ามาใช้จ่ายและลดต้นทุนโดยไม่ปลดพนักงานที่มีจำนวน 200 คน

"แม้ปัจจุบันสถานการณ์บริษัทดีขึ้น หลังเผชิญสถานการณ์โควิด-19 แต่ยังคงมีรอยแผลที่บอบช้ำ ที่ยังคงต้องรักษาอยู่"

อรรถนพ กล่าวว่า บทเรียนจากวิกฤติโควิด ทำให้บริษัทหันมาให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อรองรับความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้น โดยเน้นการพัฒนาโครงการที่มีส่วนของเงินทุนจากกองทุนที่เข้ามาเป็นพันธมิตรคิดเป็นสัดส่วน70% ส่วนที่เหลือ30% มาจากสถาบันการเงิน จากปัจจุบันบริษัทมีหนี้อยู่ประมาณ50%

“แนวทางทางดังกล่าวทำให้เมื่อเกิดวิกฤติก็ไม่ต้องกังวล เพราะไม่ต้องมานั่งจ่ายดอกเบี้ยหรือคุยกับเจ้าหนี้เยอะ แทนที่จะต้องนำเงงินมาจ่ายดอกเบี้ย ก็นำเงินส่วนนั้นไปพัฒนาโครงการใหม่ หรือโครงการเก่าให้ดีขึ้น”

ถอดบทเรียนอรรถนพ พันธุกำเหนิดฝ่าคลื่นพายุวิกฤติพลิกโมเดลธุรกิจตามเทรนด์

เน็กซ์สเต็ปของ ซิซซา กรุ๊ปต่อจากนี้ไปคือการเป็นดีเวลลอปเปอร์ที่มีสินค้า-บริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง และสอดคล้องกับเทรนด์ธุรกิจตลอดเวลาพร้อมกับการแสวงหาความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ มากขึ้น เพื่อขยายรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่ำปีละ 10% อย่างต่อเนื่องคาดว่าปีนี้มีรายได้มากกว่า10%

โดยล่าสุดบริษัทได้นำบริการดิคัลและเวลเนสเข้ามาให้บริการในโรงแรม ทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่ง รวมทั้งเป็นการพัฒนาโมเดลธุรกิจในรูปแบบ ”แชริ่งอีโคโนมี” (Sharing Economy) ร่วมกับพันธมิตร เพราะในยุคสมัยนี้ธุรกิจจะยั่งยืนได้ต้องร่วมมือกับหลายฝ่าย เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เข้ามามากขึ้น

ถอดบทเรียนอรรถนพ พันธุกำเหนิดฝ่าคลื่นพายุวิกฤติพลิกโมเดลธุรกิจตามเทรนด์

ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับโรงแรม จากเดิมที่จะมีรายได้มาจากค่าห้องพัก ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อมีเมดิคัลเวลเนสเข้ามาทำแพกเกจร่วมกันส่งผลให้สามารถดึงลูกค้าให้เข้ามาพักระยะยาวมากขึ้น และกลายเป็นธุรกิจบริการที่ไม่มีซีซันอีกต่อไป คาดว่าจากกลยุทธ์ดังกล่าวทำให้รายได้โรงแรมเพิ่มขึ้น 20-30%

ปัจจุบันซิซซา กรุ๊ป มี 5 ธุรกิจ ได้แก่ 1.โรงแรม 2.สุขภาพ 3.คอนโด 4.พลูวิลล่า และ5.Jooys แอปฯ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ถือเป็นสตาร์ทอัพ เริ่มจากภูเก็ตก่อน หาข้อมูลร้านอาหาร เปิดให้จองทุกอย่าง และมีส่วนลด ยกเว้นโรงแรม แต่ยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในภูเก็ตก่อนที่ขยายไปทั่วโลก ถือเป็นโมเดลที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา (pain point)ให้กับนักท่องเที่ยว

ถอดบทเรียนอรรถนพ พันธุกำเหนิดฝ่าคลื่นพายุวิกฤติพลิกโมเดลธุรกิจตามเทรนด์

บูมลงทุนภูเก็ตหนุนเมดิคัลฮับแห่งอาเซียน

ภาพรวมตลาดท่องเที่ยวในภูเก็ตฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งโรงแรม และที่อยู่อาศัย โดยกลุ่มผู้ซื้อหลักยังเป็นชาวรัสเซีย 80% ซึ่งหนีภัยสงครามมาหาซื้อบ้านหลังที่สองในภูเก็ต โดยเฉพาะ “พูลวิลล่า” ระดับราคา 6-100 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีผู้ประกอบการรุกพัฒนาโครงการใหม่ทั้งกลุ่มท้องถิ่นและจากกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นตลาดแมส ราคา 7-30 ล้านบาท กระจายรอบเกาะภูเก็ต สร้างซัพพลายพูลวิลล่ามากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา “ไม่เพียงพอ” กับดีมานด์หลังวิกฤติโควิดตลาดพูลวิลล่ามียอดขายที่ดีมาก!  ทำเลที่ได้รับความนิยมมากสุด คือ โซนลากูน่า แถวหาดบางเทา หาดลายัน โซนถัดมาคือ ราไวย์ และในหาน 

ส่วนตลาดคอนโดมิเนียม มีการพัฒนาน้อยกว่าเดิม เพราะช่วงวิกฤติโควิด ดีมานด์หันมาซื้อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านและวิลล่ามากขึ้น

“ช่วงโควิด ราคาที่ดินไม่พุ่งมากนัก ปรับเพิ่มขึ้นราว 20% ซึ่งราคาที่ดินสูงสุดปัจจุบันยังอยู่ที่ป่าตอง บางทำเลไร่ละ 200 ล้านบาท ซึ่งภูเก็ตยังมีพื้นที่ให้พัฒนาพอสมควร” 

ถอดบทเรียนอรรถนพ พันธุกำเหนิดฝ่าคลื่นพายุวิกฤติพลิกโมเดลธุรกิจตามเทรนด์

ขณะเดียวกันมาตรการภาครัฐหนุนภูเก็ตเป็น “เมดิคอล ฮับ” ภูมิภาคอาเซียน สอดรับการลงทุนของ ซิซซา กรุ๊ป ในปีนี้เปิดตัว 4 โครงการ มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ประกอบด้วย "นาใต้ เมดิคอล เซ็นเตอร์แอนด์ รีสอร์ต“ พัฒนาเป็นศูนย์สุขภาพและความงามควบคู่ไปกับรีสอร์ตหรูระดับ 6 ดาว

ปัจจุบันเปิดให้บริการในส่วนของโรงแรมแล้ว ส่วนเมดิคอลฯจะเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 1 ปี2567 ”เมดิคอล เวลเนส รีสอร์ต" ในพื้นที่โรงแรม“วินแดมแกรนด์ ในหาน บีช ภูเก็ต” พร้อมเปิดให้บริการในส่วนของ “เพลนารีเวลเนส” ศูนย์สุขภาพและความงามแบบแบบองค์รวม

"เมดิคอล ถือเป็นโปรดักส์ใหม่ในตลาด เวลเนส รีสอร์ต ที่เป็นการให้บริการเรื่องดูแลสุขภาพในโรงแรม ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือการให้บริการเชิงการแพทย์ ที่มีคลินิกเฉพาะทาง บริษัทฯ นำ 2 รูปแบบมารวมกันเป็น เมดิคอล เวลเนส รีสอร์ต  ยังมีคู่แข่งน้อยมาก”

นอกจากนี้ลงทุน "พูลวิลล่า“ บริเวณหาดลายัน และ ”ดิ เอท พูลวิลล่า เฟส 2 บริเวณอ่าวฉลอง"